วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

มหาเวสสันดร

บทที่ 1
บทนำ
ปฐมเหตุเวสสันดร
พระพุทธองค์ สมัยเมื่อเสด็จละจากมหาวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์อันเป็นราชธานีแห่งมคธ สู่นครกบิลพัสดุ์ แขวงสักกชนบท เพื่อบำเพ็ญญาตัตถจริยาโปรดพระญาติ มีพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเป็นประธาน อันพระกาฬุทายีเป็นผู้สื่อสาร และนำเสด็จไปประทับยังนิโครธารามไม่ห่างจากมหานคร ตามที่ศากยราชจัดถวายต้อนรับพร้อมด้วยหมู่ภิกษุบริวารเป็นอันมาก(1แสน)
ยังความยินดีให้แผ่ไปทั่วทั้งกบิลพัสดุ์ ในกาลครั้งนั้นความมหัศจรรย์ได้บังเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ทรงประกาศเรื่องเวสสันดรชาดก
โดยปกติพระตถาคตเจ้า เสด็จสู่ ณ ที่ใดย่อมบังเกิดความสุขสวัสดี ณ ที่นั้น เพราะอานุภาพแห่งคำสั่งสอนที่ตรัสประทานด้วยพระมหากรุณา อุปมาเสมือนมหาเมฆหลั่งโปรยสายฝนอันเย็นฉ่ำลงมายังโลก ยังความอ้าวระอุของไอแดดไอดินให้ระงับ ชุบชีพพฤกษชาติที่เหี่ยวเฉาให้ฟื้นสู่ความชื่นบานตระการด้วยดอกช่อและก้านใบฉะนั้น แต่สำหรับกบิลพัสดุ์ดินแดนที่ทรงถือพระกำเนิดและเจริญวัยมา มวลพระญาติและราษฏร์ประชา หาได้ยินดีต่อพุทธวิสัยธรรมานุภาพไม่
พระองค์ทรงอุบัติมาเป็นความหวังของคนทั้งแว่นแคว้น ทุกคนพากันรอคอยอย่างกระหายใคร่จะชมพระบารมีจักรพรรดิราช แต่แล้วท่ามกลางความไม่นึกฝัน ทรงอยู่ในพระเยาวกาลเกศายังดำสนิท ไม่ปรากฏร่องรอยความร่วงโรยแห่งสังขารแม้สักน้อย ทั้งสมบูรณ์พูนพร้อมทุกอย่าง เท่าที่สมบัติประจำวิสัยบุรุษจะพึงมี พระชายาทรงสิริโฉมเป็นเลิศ ซ้ำเป็นโชคอันประเสริฐให้กำเนินโอรสอันเป็นสิริแห่งวงศ์ตระกูลอีกเล่า พระองค์ยังตัดเยื่อใยแห่งโลกีย์ เสด็จแหวกวงล้อมเหล่านี้ออกสู่ไพรพฤกษ์ ประพฤติองค์ปรานประหนึ่งพเนจรอนาถา สร้างความผิดหวังและวิปโยคแก่คนทั้งแคว้นเป็นเวลานานปี 6 ปี ทรงกระทำงานชีวิตและสำเร็จกิจโดยได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจากนั้นก็ทรงใช้ไปเพื่องานสงเคราะห์สัตว์โลก เสด็จเที่ยวแจกจ่ายอุบายพ้นทุกข์ ด้วยเทศนาสั่งสอนจนชาวโลกยอมรับและเทิดทูนไว้ในฐานะองค์ศาสดาเอก บัดนี้ พระพุทธองค์เสด็จคืนกลับกบิลพัสดุ์แล้ว แต่ชาวกบิลพัสดุ์มิได้ต้อนรับในฐานะศาสดาเอก บัดนี้ พระพุทธองค์เสด็จคืนกลับกบิลพัสดุ์แล้ว แต่ชาวกบิลพัสดุ์มิได้ต้อนรับในฐานะศาสดา เขาพากันปิติต่อพระองค์ในฐานะที่เคยเป็นขวัญจิตขวัญใจของเขาต่างหาก (จากหนังสือเรื่องเพลงศาสนา ของหลวงตาแพร เยื่อไม้)
วันแรกที่เสด็จถึงดินแดนแห่งมารดร ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่โอกาสที่จะประทานธรรมเทศนาแก่หมู่พระญาติ เพราะวันนี้เป็นวันที่วิถีประสาทและจิตใจตลอดทั้งร่างกายของเหล่าศากยะ เต็มได้ด้วยอาการปิติตื่นเต้น และอิดโรยด้วยความยินดี และภารกิจไม่อยู่ในสภาพที่ควรแก่การรองรับกระแสธรรม ทรงรอวันรุ่ง แต่แล้วในตอนบ่ายของวันต่อมา เมื่อบรรดาศากยราชญาติประยูรพากันเสด็จไปเฝ้าที่นิโครธาราม ก็ทรงประจักษ์ว่า พระทัยของประยูรญาติบางส่วน ยังไม่อยู่ในฐานะควรแก่การรับคำสั่งสอน เพราะมีพระญาติวงศ์รุ่นสูงชันษาบางพระองค์แสดงอาการทระนงเป็นเชิงว่า “ข้าเกิดก่อน” เจ้าชายสิทธัตถะจะแสดงความคารวะนบไหว้ หรือสนพระทัยต่อพระพุทโธวาทก็เกรงจะเสียเชิงของผู้เห็นโลกมาก่อน จึงพากันประทับอยู่ห่าง ๆ ด้วยพระอาการเคอะเขิน หลบ ๆ ซ่อน ๆ อยู่ตามซุ้มไม้และฉากกั้น ปล่อยแต่บรรดากุมาร กุมารีรุ่นเยาว์ชันษาให้ได้เฝ้าอย่างใกล้ชิด พระอาการอันกระด้างเคอะเขินของพระญาติรุ่นสูงอายุนั้น พระพุทธองค์ทรงสังเกตว่าเกิดจากมูลเหตุอันจะเป็นอุปสรรคสกัดกั้นผลดีที่จะพึงเกิดมีแก่เขาเสีย มูลเหตุอันจะปิดกั้นความงอกงามจำเริญแก่ดวงจิตนั้นก็คือ ทิฐิมานะ ความเห็นอันเป็นให้ถือตน ถ้าลงจับจิตสิงใจผู้ใดเข้าแล้ว ก็รังแต่จะทำให้สภาพจิตวิปริตไป เสมือนรากต้นไม้ที่เป็นโรค แม้ฝนจะฉ่ำน้ำจะโชก แผ่นดินจะฟูอยู่ด้วยรสปุ๋ยรากที่ปิดตัดเสียแล้วด้วยอำนาจเชื้อโรค ก็ไม่ย่อมดูดซับเอาโอชะเข้าบำรุงลำต้น เกรียนโกร๋นยืนตายไปในที่สุดฉันใด อนาคตของคนที่มีจิตมากอยู่ด้วยมานะทิฐิก็ฉันนั้น
ทรงพิจารณาดังนี้ จึงเห็นว่ากิจอันควรก่อนอื่น คือ ทำลายความกระด้าง ล้างความถือดี เสียด้วยอำนาจอิทธิปาฏิหาริย์ ทรงกำหนดจิตเจริญฌาน มีอภิญญาเป็นภาคพื้นลอยขึ้นสู่ห้วงนภากาศเสด็จลีลาศจงกรมไปมาน่าอัศจรรย์ เพียงเท่านี้เอง ความคิดข้องใจที่ว่าใครอาบน้ำร้อนก่อนหลังก็เสื่อมสูญอันตรธาน พากันก้มเศียรคารวะแสดงถึงการยอมรับนับถืออย่างเต็มใจ เมื่อเสด็จลงประทับ ณ พุทธอาสน์ เบื้องนั้น ฝนอันอัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนก็ตกลงความมหัศจรรย์มีลักษณะดังนี้
• สีเม็ดน้ำฝนแดงเรื่อ เหมือนแก้วทับทิม
• ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ไม่ปรารถนา เม้ละอองก็ไม่สัมผัสผิวกาย
• ไม่เลอะเทอะขังนอง ก่อให้เกิดโคลนตมอันปฏิกูล พอฝนหาย แผ่นดินก็สะอาด
• ตกลงเฉพาะในสมาคมพระญาติ ไม่มีผู้อื่นอยู่ร่วมประชุมด้วย
คติในความมหัศจรรย์โดยอุปมา มีดังนี้
ข้อที่ 1 สีของน้ำฝน ได้แก่ สีโลหิตแห่งความชื่นชมยินดี วันนี้เป็นวันที่ศากยราชทั้งปวงรอคอย ก็
สมหวังแล้ว เมื่อพระพุทธองค์เสด็จคืนกลับมา ให้เขาได้เห็นพระรูปพระโฉม จึงพากัน
ชื่นบานผิวพรรณก็ซ่านด้วยสายเลือดอย่างที่เรียกราศีของคนมีบุญว่า ผิวพรรณอมเลือดฝาด
ข้อที่ 2 ความชุ่มชื้นของสายฝน ก็ได้แก่พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงประกาศออกไป มี
เหตุมีผลสมบูรณ์ด้วยหลักการ ถ้าผู้ใดตั้งใจฟังด้วยความเคารพธรรมก็เข้าสัมผัสจิตสำนึก
และสามารถจะปรับปรุงจิตของตนตามหลักแห่งเหตุผลนั้น จนกระทั่งจิตตั้งอยู่ในภาวะ
เยือกเย็นเหมือนผิวกายต้องละอองฝน แต่สำหรับบุคคลที่ฟังสักแต่ว่าฟัง ธรรมะนั้นก็จะไม่
กระทบใจ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา อุปมาด้วยฝนไม่เปียก
ข้อที่ 3 ปกติธรรมะเป็นของสะอาด ไม่ก่อทุกข์โทษอันพึงรังเกียจแก่ใคร ๆ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
ข้อที่ 4 พระพุทธจริยาครั้งนี้ ทรงมุ่งบำเพ็ญเฉพาะหมู่พระญาติศากยะล้วน ๆ
เมื่อศากยะ ผู้ได้รับความเย็นกายด้วยสายฝน เย็นใจด้วยกระแสธรรม และกราบบังคมลาพากันคืนสู่พระราชนิเวศแล้ว แต่นั้นก็ย่างเข้าสู่เขตสนธยากาล แสงแดดอ่อนสาดฝ่าละอองฝนที่เหลือตกค้างมาแต่ตอนบ่าย ทำให้เกิดบรรยากาศราวกับจะกลายเป็นยามอรุณ ดอกไม้ในสวนเริ่มเผยอกลีบอย่างอิดเอื้อนเหมือนหลงเผลอ แม้นกก็บินกลับรวงรังอย่างลังเล
ภิกษุทั้งหลายกำลังชุมนุมสนทนากันถึงฝนอันมหัศจรรย์และสายัณห์อันเฉิดฉาย ลงท้ายก็พากันเทิดทูนพุทธบารมีที่บันดาลให้ทุกสิ่งเป็นไปแล้วอย่างพิศวงยิ่ง พระพุทธองค์เสด็จสู่วงสนทนา ของภิกษุพุทธสาวก เมื่อทรงทราบถึงมูลเหตุอุเทสแห่งการสนทนานั้น ก็ตรัสแย้มว่าฝนนี้เรียกว่า ฝนโบกขรพรรษ ที่ตกลงมาในปัจจุบันนี้ หาชวนอัศจรรย์ไม่ แม้ในอดีตกาล เมื่อทรงอุบัติเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ นามว่าเวสสันดร ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมจนเป็นเหตุให้ฝนโบกขรพรรษได้ตกลงมานั่นสิ อัศจรรย์กว่า ภิกษุทั้งหลายต่างพากันกราบทูลพระมหากรุณาให้นำเรื่องครั้งนั้นมาแสดง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงเรื่องราวพิสดาร แบ่งเป็นสิบสามกัณฑ์พันพระคาถา (เทศน์มหาชาติ-เทศน์มหาชนก-ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา,หน้า42-45.)

เทศน์มหาชาติ
การเทศน์มหาชาติเป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังหลักฐานปรากฏตามความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 3 หรือ “จารึกนครชุม” ซึ่งจารึกไว้ในสมัยพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1) เมื่อ พ.ศ.1900 ว่า “ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย”
งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว โดยทั่วไปนิยมจัดงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง ระยะเวลาจัดงานอาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า “งานบุญผะเหวด” ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษ จะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 ส่วนทางดินแดนล้านนาทางภาคเหนือจะเรียกการเทศน์มหาชาติว่า “การตั้งธรรมหลวง” ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนยี่เพง (ยี่เป็ง) คือ วันเพ็ญเดือน 12
เรื่องที่นำมาใช้ในการเทศน์มหาชาตินั้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนการที่เรียก มหาเวสสันดรชาดก ว่า “มหาชาติ” นั้น เนื่องด้วยเวสสันดรชาดกนี้ เป็นเรื่องใหญ่และยืดยาว ท่านจึงจัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดก คือ รวมเรื่องใหญ่ 10 เรื่อง เรียกว่า ทศชาติ แต่เหตุที่อีก 9 เรื่องไม่เรียกว่ามหาชาติเช่นเดียวกับเวสสันดรชาดกนั้น ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 10 อย่าง คือ
1. ทานบารมี ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
2. ศีลบารมี ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
3. เนกขัมมบารมี ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
4. ปัญญาบารมี ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
5. วิริยบารมี ทรงปฏิบัติธรรมมิได้ย่อหย่อน
6. สัจจบารมี ทรงลั่นพระวาจายกสองพระกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนี ก็ทรงติดตามมาให้
7. ขันติบารมี ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้เมื่อทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณ พระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
8. เมตตาบารมี เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฏร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์เพราะเมือง กลิงคราษฏร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองพระกุมารโดยอ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
9. อุเบกขาบารมี เมื่อทรงเห็นสองพระกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือพระองค์ก็ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
10. อธิษฐานบารมี คือ ทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณเบื้องหน้า แม้จะมีอุปสรรคก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะตระหนักในน้ำพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์
ดังนั้น จึงเรียกพระชาติสำคัญนี้ว่า “มหาชาติ” ส่วนพันเอกสารสาสน์พลขันธ์ (เยรินี) กล่าวไว้ว่า พระโพธิสัตว์ในกำเนิดพระเวสสันดร ได้สร้างแบบของมนุษย์ผู้ก้าวถึงขั้นสูงสุดแห่งการดำเนินในทางวิวัฒนาการ อันนำไปสู่ความเต็มเปี่ยมทางจริยธรรมและความรู้ เหมาะแก่การข้ามพันโอฆะห้วงสุดท้าย ซึ่งจะแยกออกเสียได้จากการเกิดเป็นเทวดา เพราะเหตุนี้กำเนิดสุดท้ายจึงได้นามว่า “มหาชาติ” คือเป็นพระชาติที่บำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุดนั่นเอง
เวสสันดรชาดกนี้ คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า เป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่น และมวลหมู่พระประยูรญาติที่นิโครธารามมหาวิหาร ในนครกบิลพัสดุ์ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา และพระวงศ์ศากยะ เพราะปรารภฝนโบกขรพรรษให้เป็นเหตุ จึงตรัสเวสสันดรชาดกในที่นี้ มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ประกอบด้วย ทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วนประเวศน์ ชูชก จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สักกบรรพ มหาราช ฉกษัตริย์ และนครกัณฑ์
มหาชาติในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. มหาชาติประยุกต์ ท่านพระครูพิศาลธรรมโกศล (หลวงตาแพร เยื่อไม้) วัดประยูรวงศาวาสเป็นผู้คิดและให้คำ ๆ นี้ เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ คือ ฟังรู้เรื่อง เข้าใจ และได้สาระ ไม่ง่วงน่าเบื่อหน่าย อีกทั้งประหยัดเวลาในการแสดง
2. มหาชาติทรงเครื่อง มี 3 ลักษณะ คือ
- มีการปุจฉา – วิสัชนา ถาม – ตอบ ในเรื่องเทศน์
- มีการสมมติหน้าที่ เช่น องค์โน้นเป็นพระเวสสันดร องค์นี้เป็นพระนางมัทรี
- ในเทศน์มีแหล่ ทั้งแหล่นอก แหล่ใน มิใช่ว่าแต่ทำนองประจำกัณฑ์เท่านั้น (แหล่นอก หมายถึง แหล่นอกบทนอกเนื้อความจากหนังสือ เป็นการเพิ่มเติมเข้ามา แหล่ใน หมายถึง แหล่ในเรื่อง เนื้อความตามหนังสือที่ยอมรับกัน เช่น ฉบับวชิรญาณ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ)
3. มหาชาติหางเครื่อง มีการแสดงประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน มีเฉพาะฆราวาสล้วน ๆ เช่น เอาชูชกมาออกฉาก แต่ปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมหาลิเกมาแสดง แล้วนิมนต์พระมาเทศน์ประกอบ
ความเชื่อ
เชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังมหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียว หรือบูชาธูปเทียนดอกไม้จำนวน 1,000 เท่ากับจำนวนพระคาถา จะได้พบกับศาสนาพระศรีอาริย์ (มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า ฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปภัมถ์. เทศน์มหาชาติ มหากุศล เฉลิมพระเกียรติ
ถวายพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมชนมพรรษา 80
พรรษา 5 ธันวาคม, หน้า24-28)


















มหาเวสสันดร กลอนอีสาน
1. กัณฑ์ทศพร

นโม ตัสส ภควโต สมมาสมพุทธสฺส ศรีสุมังคะเลิศล้ำสิทธิเดชฤาชา นาโถสุดยอดญาณไตรแก้ว สวัสดีน้อมในธรรมพุทธบาท คุณพระยกใส่เกล้าเป็นเหง่าแก่นธรรม ข้าจัดนำน้อมนิ้วถวายแห่งกายา คุณครูบาสัง สอนความรู้ ขอให้มาชูค้ำนิทานธรรมให้มันคล่อง ขอให้ฮู้ส่องแจ้งเห็นถ้วนคู่แถว แนวใดปู้คุณครูให้แหลมซ่อย ผู้เพิ่นคอยอยากฮู้หลายผู้สู่คน อย่าให้จนความเว้าเอานิทานมาจ่าย เพิ่นสิเห็นต่อนฮ้าย คราวนี้ให้ซ่อยจา อดมากูณาข้าครูบาผู้สอนสั่ง คุณพระสังฆราชเจ้าให้มาเฝ้ารักษา ผู้ข้านอบน้อมยิ้มถวายบาทบังคม คุณบรมกษัตริย์ไทยหากอยู่ไกลภายพู้น บุญหลังสร้างภายลุนให้ตุ้มห่อ อีกคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงกะดินฟ้าบ่เกิ่งซา...
บัดนี้ จักกล่าวถึงสักโกไท้อิทราเทวราชเนาว์อยู่ในผาสารทกว้างสวรรค์ฟ้าอยู่เย็น พระก็คิดฮ้ำฮู้คะณิงแห่งกรรมเวร ผุสดีนางอยู่ในสวรรค์ฟ้า เดี๋ยวนี้นางก็หมดบุญสร้างสวรรค์ทองเทวโลกอินทร์เลยตรัสสั่งให้ลงใช่มนุษย์คน พอแต่อินทร์ฮ้ำแล้วเอิ้นสั่งผุสดีจอมแพงเองให้ด่วนมาเด้อเจ้า...เมื่อนั้นก่อนซิลงสู่พื้นมนุษย์โลกเมืองคน ข้าจักขอยังพรจากพระอินทร์องค์ไท้ ขอให้อินทราให้พรนาง 10 อย่าง จงประสิทธิประสาทให้พรน้องเมื่อซิลงก่อนถ้อน ข้อ 1 นั้น ยามข้าลงเกิดก้ำหนแห่งทางใดก็ดีถ่อน ขอให้เป็นอัคคะมเหสี แม่เมืองแทนท้าว พร้อมทั้งมีสาวใช้สนมนางเพียบพ่าง กับทั้งขับเสบพร้อมแคนได่ขุ่ยระบำแต่ถ้อน ข้อ 2 นั้นขอให้ตาสองก้ำ ดำดีปี้ปอด เป็นดั่งตาลูกเนื้อขาวขุ่นอย่าให้มีไผ๋ผู้มองเห็นแล้วให้ลืมตนสะมิ่งเหมื่อย เทิงมักเทิงอยากได้เห็นแล้วเปิดบ่เป็น ข้อ 3 นั้นขอให้องค์พระภูคิ้วเสมอกันคมเคียม ขอให้เป็นดังคันธนูโค่งค่อมศรแก้วดั่งกัน ไผ๋ผู้มองเห็นนั้นให้ลืมตนสะมิ่งเมื่อย เป็นลมเลยท่าวล้มเห็นคิ้วหม่อมพระนาง ข้อ 4 นั้นยามข้าลงเกิดแล้วให้เชื่อว่าผุสดีขอให้ชาวสีพีเรียกตามนามเค้า แม่นซิตกไปก้ำแดนใดกะตามซ่างผุสดีชื่อน้างนามนั้นให้ดั่งเดิม ข้อ 5 นั้นยามข้าได้ลูกน้อยเกิดก่อนเป็นชาย ขอให้มีบุญหลายลื่นคนทั้งค่าย คนทั้งหลายในพื้นปถพีให้ได้เพิ่ง คนผู้ทุกขะมอดไฮ้ให้มาได้เพิ่งเย็นแต่ถ่อน ข้อ 6 นั้นยามข้ามีลูกน้อยลงเกิดในครรภ์ ขอให้กายกลมดีดั่งเยาว์ยังน้อยขอให้นางพีเกี้ยงเสียงดีสันเก่า ขอให้กลมกล่อมเกี้ยงเพียงข้าปรารถนานั้นท่อน... ข้อ 7 นั้นขอให้นมตูมตั้งเสมอดั่งจูมทอง เป็นที่ฮอง ๆ ใส่ตุ่มตึงเต็มเต้า ขอให้นมของข้าผุสดีสันเก่า ลูกซิดึงดูดทึ้นอย่ามีได้หย่อนยาน อย่าให้ยุ่นยานได้คือคนภายลุ่ม ขอให้เป็นดั่งจุ่มหน่วยฆ้อง นมน้องให้ดั่งเดิมแต่ท่อน ข้อ 8 นั้นขอให้เกศาเส้นดำดีปี้ปอด อย่าให้มีขาวเส้นแซมแกมเอิ้นว่าหงอก ขอให้เป็นดั่งปีกแมลงภู่เพี่ยงเพียงด้ามดั่งกัน ข้อ 9 นั้นขอให้กายของข้าผุสดีคือเก่า ขอให้ใสส่องแจ้งแยงแล้วดั่งพระจันทร์ แม่นว่าอายุนั้นไวแก่ปูนปัจฉิม ขอให้กายกลมเหมือนดั่งเยาว์ยังน้อย ขอให้กายของข้าผุสดีคือเก่า ขอให้กลมกล่อมเกลี้ยงเพียงข้าปรารถนานั่นถ่อน ข้อ 10 นั้นขอให้ปัญญาข้าคมคายทั้งฉลาด เป็นนักปราชญ์ใต้แผ่นพื้นให้ลือแท้แต่พระนาง ฝูงหมู่โทษาฮ้าย พันธะนังมัดผูก ฝูงหมูติดจ่องโซ่จำ เกี้ยวเหนี่ยวขา ขอให้ปัญญาข้าผุสดีให้ฮู้ป่อง ให้ได้ปลดปล่อยเปี้ยงตรวนโซ่ได้ปล่อยไป อนพระพรชัยแก้ว 10 ประการที่นางกล่าวมานี้ ขอพระองค์จงประสิทธิประสาทให้พระนางน้องเมื่อซิลง แน่แม่
เมื่อนั้นสักโกไท่อินทราเทวราช เลยประสิทธิประสาทให้พรแก้วแก่พระนาง อันว่าพรทั้งเก้าบริบูรณ์สมประกอบ ยังแต่ลูกอ่อนน้อยพระนางหล่าซิอยู่คอย อินทร์จึงหลิงแลเยี่ยมเทวบุตรหกหมื่นก็จึงเห็นแจ่มเจ้าบุญกว้างหน่อโพธิ์ แล้วจึงเซินเจียงเจ้าลงเกิดเมืองมนุษย์ โพธิญาณยอต่อสะพานแปลงไว้อันว่าโลกีย์กว้างนะทีทองเทียวยาก ให้ลูกไปก่อสร้างศีลล้านอยู่สำราญ พ่อท่อน...เมื่อนั้นผุสดีเจ้าจอมพระนางน้อยนารถ ยามเมื่ออินทิราชให้พระพรน้องดั่งหมาย แล้วจึงยอพระกรไหว้องค์อินทร์ตนประเสริฐ ข้าซิลงเกิดก้ำเมืองใต้มนุษย์คน ค้อมแต่นางกล่าว แล้วรีบเร่งเร็วพลันผันพะยองลัดผ่านเมโฆฟ้า อันว่าเทพาน้อมติดตามนำส่ง แหนแห่เจ้าพระอออออออวนน้องจากสวรรค์แล้วจึงผันผะยองดั้นเวหาจอมเมฆ ตัดกีบฟ้าหลายชั้นผ่านลงแลเห็นกงทะลังพื้นชมพูมนุษย์โลก ใกล้ซิเถิงแห่งห้องเมืองบ้านมนุษย์คนแล้วจึงวนหาห้องสีพีนครราช แล้วจึงลงเกิดก้ำเมืองบ้านอยู่สำราญ...เมื่อนั้นผุสดีเจ้าจอมพระนางน้องนารถ ยามเมื่อมีลูกน้อยในท้องฮ่วมพระครรภ์ บ่มีวันสีเศร้าเสมือนหญิงในโลก บ่ฮ่อนหนักหน่วงท้องพระกายน้องดังใดมีแต่ศรีใสเหลี่ยมผิวพรรณ์ผุดผ่อง นวลละอองละเอียดโก้งามย่องดังซิบินเพราะพระอินทร์ประทานให้พรนาง 10 อย่าง พระครรภ์นางก็บ่เศร้าทางท้องก็บ่ตูน เพราะว่าคุณพรกล้าพระอินทราเทวราชนางนารถน้อยขอเจ้ายอดสวรรค์ ยุติกาบั้นกัณฑ์ทศพรไว้ก่อน คุณโยมเอย (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร, ผูกที่ 1.)























2. กัณฑ์หิมพานต์
เมื่อนั้นฝูงหมู่ชาวเมืองได้ยินคำพราหมณ์กล่าว ใจโกรธเข่มกายฮ้อนเหื่อไหล โทรมนังแค้นคิงแคงโดยเลือด เพราะว่าเคียดให้เจ้าทานช้างมิ่งเมือง เขาก็พากันเข้าวังหลวงฮ้องสนั่น ทูลบอกเบื้องไขข้อกล่าวคดี บัดนี้ลูกเจียงเจ้ามหาเวสกระทำผิด ทานนาเคนทร์มิ่งเมืองนครกว้าง อาธรรมแท้คนขวางผิดฮีตจริงแหล่วควรเบิกบ้านตีเฆี่ยนไล่หนีพระเอย คันว่าพระบาทเจ้าเลี้ยงลูกคนผิด ภัยจักมีมาเถิงแก่พระองค์จริงแท้ เมื่อนั้นสญไชยเจ้าราชาปิตุเรศ ฮู้เหตุข้อเห็นพร้อมไพร่เมือง อันบุตรเฮานี้ทำทานผิดฮีตจริงแหล่ว เฮาจักขับจากบ้านอย่างแพงไว้อั่งนคร ชาติที่คนขวางฮ้ายซิวายเมืองมัวมอด เสียประโยชน์ด้วยฮามสร้างสืบสิน พระจึงมีคำให้เขาขุนไปบอกวันพรุ่งนี้ให้หนีบ้านพรากวังว่าเนอ เมื่อนั้นข้ามหาดใช้รับราชบัญชานำคดีทูลหน่อธรรมทั้งให้ บัดนี้พระวรปิตตาไท้ชาวนครขอบเขตุว่าจักเนรเทศเจ้าบุญกว้างพรากวังพระเอย เพราะว่าโสกีย์ก้ำกุญชรพระยาเผือก โกรธแก่พระบาทเจ้าทานให้แก่พราหมณ์แท้แหล่ว
เมื่อนั้นผู้ผ่านพื้นองค์เอกจอมกษัตริย์ ฟังกลอนสารฮ่ำเพิงคณิงแจ้ง อันว่าโลกีย์นี้อนิจจังมันบ่เที่ยงจริงหนอ ไผผู้เว้นว่างได้กรรมเกี้ยวแม่นบ่มีแท้แหล่ว คันหากบุญมากล้นเมื่อสู่นิระพานเมื่อใด ก็จักหายกังวลเวทนายามนั้น คราวนี้เอาแต่โกศลสร้างภายหลังซิยู่ส่ง ชาติที่กรรมหากมาฮอดแล้วลือซิเว้นว่าบ่เป็นเจ้าเอย ค้อมว่าพระฮ่ำแล้วต้านต่อนายนักการ ให้ท่านนำความคืนคอบพระคุณคำแจ้ง ขอให้จอมใจกว้างราชาปิตุราชอนุญาตให้สามมื้อซิพรากวังว่าเนอ เหตุว่าจักอยู่ทำทานให้คนจนทุกขมอด แหวนและแก้วทั้งผ้าแผ่นสะใบ ฝูงหมู่เงินคำล้นในพระคลังมูลมาก ข้าจักบริจาคแท้ทานให้อิ่มก็ใจก่อนเทอญ
เมื่อนั้นเสนาน้อมคืนทูลเทวราช พระก็อนุญาตให้สามมื้ออย่ากายแท้เนอ เมื่อนั้นโพธิสัตว์เจ้าจา นารถมะเหษี ขอให้มะทีนางอยู่ยืนอย่างเศร้า กับทั้งชาลีเจ้ากัณหาลูกพ่อก็ดี ขอให้ยืนหมื่นมื้ออย่ามีเศร้าคอยคงแดท่อนเทื่อนี้กรรมมาม้างเวียนเวรมาฮอด พี่จักได้พรากห้องหอคุ้มราชวัง ให้น้องเลี้ยงลูกแก้วสองอ่อนนงค์กษัตริย์ให้แพงสองกุมารเหมือนพระเนตร์เนาว์ในหน้า คันว่าราชาเจ้าเมืองใดเห็นฮูป ฮ้กฮ่อเจ้าปูนใช้แอ่วอม น้องอย่าได้เกียจเจ้าก้าวฮ่วมเฮียงประสงค์ ให้น้องไปเป็นเมียอยู่เทียมไทยท้าว อันว่าครองผัวให้เพียรเยออย่า ประมาท ฮ้กฮ่อตุ้มดีฮ้ายเพิ่งกันน้องเอย อันว่าการใดแท้ครองขวางขีนฮีต น้องอย่าได้เสพย์ซู้กรรมเกี้ยวคั่งถม อันว่าชายใดต้านจาปองเป็นเลส ยิกคิ้วค่อนตันหน้าอย่าเหลียวพี่เนอ ให้น้องอยู่สืบสร้างตุ้มไพร่ในนคร ฝูงหมู่โรคาสูญส่วงเยออย่าใกล้ อันว่าสองกษัตริย์ไท้มารดาปิตุราชก็ดีบุญมากล้นกวมพื้นแผ่นไตร พี่ขอฝากน้องไว้อุปฐากเพียรดูแต่ท่อน พี่นี้กรรมมาเถิงซิห่างกันไกลหน้า ขอให้กัลยาน้องแพงขวัญค่อยอยู่ดีท่อน การที่พลัดพรากบ้านเป็นเหตุกระทำทาน น้องเอย นาเคนทรเป็นของเฮาเกิดมานำพร้อม บ่แม่ของเขาแท้ชาวเมืองมาเคียดกับทั้งพระพ่อเจ้าโฮมฮ้ายใช่การ พี่บ่โสดด้วยวัตถุทานภายนอก คึดอยากทานทอดเนื้อชีวังให้อิ่มก็ใจ ตัดหัวให้ทำทานมีประโยชน์จริงแหล่ว พี่อยากควักพระเนตรเนื้อในหน้าออกทานแท้แหล่ว การประสงค์ดวงแก้วสัพพัญญูก็ยากยิ่งจริงหนอ เฮาหากทานช้างแก้วชาวบ้านฮ้อนฮ่อมใด น้องเอย เมื่อนั้นนางกษัตริย์ไท้มะทีทนทรวงโศรกอุกอั่งแค้นหิวให้ต่อผัว กรรมใดแท้มาประจญจำจากกันนอ คันหากพลัดพรากผู้ผัวแก้วก็ส่วนตาย อันว่าวันคืนข้าเพียรคุณครองประเสริฐ ผลแผ่ยู่กวมเกล้าเกิ่งแดน ฮุ่งค่ำเช้าพร้อมเพิ่งบุญผัว บาระมีมุงบ่พาลโภยฮ้อน เทื่อนี้ปาปังเบื้องเบียนสูญเสียจากกันนอ นางนารถกั้นหิวไห้ฮ่ำไฮ...ยุตตินั้นหิมพานต์ไว้ก่อนคุณโยมเอย (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์, ผูกที่ 2.)

3. กัณฑ์ทานกัณฑ์
เมื่อนั้นขอให้สองกษัตริย์ไท้คุณคามครองราชย์ อย่าได้มีพยาธิ์ฮ้อนยืนหมื่นหมื่นปีแด่ท่อน ลูกนี้คนขวางฮ้ายวายเมืองมัวมอด ฝูงหมู่พวกไพร่น้อยกระหายฮ้อนทั่วแดนแท่แหล่ว อะประชนแท้หลอนเลิงเลี้ยงยาก ลูกนี้อยู่บ่ได้ เมืองบ้านซิล่มหลวง เมื่อนั้นพระแม่เจ้ากิ้งเกือบตายสลบ ทนทรวงขนังปวงไปเป็นบ้า แล้วจึงฮอมขัน 5 ตาตนตั้งเที่ยง สวมกอดอุ่มหลานแก้วผ่างเพลา แล้วตอบต้านวอนแอ่วองค์กษัตริย์ราชาพระบ่ยอมยังเลี้ยง เมื่อนั้นสญไชยเจ้าพระยาหลวงตนปู่ ต้านต่อลูกสะไภ้กอยกั้นเล่าโลม ให้ลูกอยู่สืบสร้างเสวยราชในปรางค์พ่อท่อน อย่าได้ไปตามผัวป่าไพรพงช้าง อันแต่ในดงกว้างไพรสนแสนยาก มีทั้งผีปาเป้าโพงฮ้ายสม่อยดงพ่อแหล่ว มีทั้งเสือสางฮ้ายทอระพีควายเถื่อน ฝูงหมู่งูงอดเงี่ยวเขียวฮ้ายเห่าจอง มีทั้งทำทานพร้อมจงอางสางฮ้าเต็มป่าไม้ เหวห้วยฮ่อมผาลูกเอย คันหากเห็นคนแล้วทะยานโยงเต้นตอด พิษพุ่งฮ้ายกลัวย่านอย่าไปพ่อท่อน มีทั้งเหลือมเหลาแหล่สีแดงเดียระดาษ ฝูงหมู่เสือโคร่งเขียวโฮมฮ้ายหมู่หมี มีทั้งสิงโตเต้นในดอยดงด่าน ไผบ่นับอ่านถ่วนคณาเนื้อมั่งเมย มหิงสาฮ้ายดังดีดมกลิ่นเต้นไต้ต้องตันไว้ว่างดอย สังหาญฆ่าคนจรพรานป่า ลูกอย่างต้านคำเว้าว่าซิไปพ่อท่อน ลูกจงเนาในห้องปรางค์ทองผาสารท เลี้ยงลูกน้อยแทนเชื้อสืบพระวงศ์ เมื่อนั้นศรีเสลียวแก้วนางมะทีทูลปู่ ขอให้พระหย่ำเกล้าบุญกว้างฮำเพิงแด่ท่อน ชาติที่นารีเชื้อแนวหญิงยศต่ำ สุขอยู่ด้วยบุญสร้างพรำผัวพระเอย แม่นว่าเงินคำล้นเต็มสางแสนโกฏิก็ดีแหล่ว ผัวบ่มีอยู่ซ้อนขวัญซิไข้ป่วยใจ แม่นว่าสุขยิ่งล้ำล้นโลกอะจินไตรก็ดี ดูดั่งคนจัณฑาลหมู่ถงแถลงตื้น คันว่ามีผัวซ้อนเทียมเพลานอนแนบ แม่นซิทุกข์ท่อฟ้าสีหน้าก็ฮุ่งเฮีองพระเอย อันว่าสามีโกแก้วองค์เดียวเดินป่า หาเพื่อนพร้อมเทียมช้างก็บ่มี ลูกบ่ละแจ่มเจ้าเจียระจากองค์เดียว ลูกขอไปตามผัวแอ่วนำแนมเจ้า แสนทุกข์ฮ้อนนอนดินดอมปลวกก็ตามถ่อน แม่นซิทุกข์ท่อฟ้าพระองค์ข้าซิคอยเพียรพระเอย แนมท่อได้พางพื้นท่าวเทศองค์ศีล เป็นตายสังก็ส่างกรรมเมื่อหน้า เมื่อนั้นองค์กษัตริย์ไท้สญไชยตนปู่ ต้านต่อลูกสะไภ้ขืนห้ามซิบ่ฟังแลหนอ อนิจจังด้วยดอมหลานสองอ่อนกูเด อายุยังหนุ่มน้อยนอนผ้าอู่เปล คิดถึงเวลาไข้เดินไพรเขียวแดด ตากน้ำค้างกลางด้าวด่านดง อันตรายล้นไพรสนหิมะเวส ปู่พากย์ข้อขอไว้อย่าซิไปพ่อท่อน ขอให้สองหลานแก้วเนาว์ในนครราช ปู่มอบให้กรุงกว้างแก่หลาน อันแต่กงทะลังพื้นประเซไชยนัคคะเรศ อาณาเขตกว้างซิงางให้แก่หลานแท่แหล่วเมื่อนั้นนางตอบต้านทูลราชเทโว อันว่าสองกุมารอ่อนนมยังน้อย คันหากไกลอกอุ้มฮามเพลาหายฮูบ ซีวิตซ่อนขวัญเมี้ยนมอดจมพระเอย เทื่อนี้ปู่เบิกบ้านขับจากพารา ลูกจักพากันไปพรากวังวันนี้ กับทั้งชาลีเจ้ากัณหาสองอ่อน จักได้ลาบาทเจ้าบุญกว้างปู่ไปก่อนแหล่ว ค่อมว่านางกล่าวแล้วองค์เอกโพธิสัตย์ยอเทียนทูลแทบตีนจอมเจ้า เทื่อนี้เป็นปางฮ้อนโฮมขันธ์ ขวางโลกลูกขอลาพ่อเจ้าฮามห้อมพรากวังก่อนแหล่ว ขอให้สองกษัตริย์เจ้าคุณคามครองราชย์ ตุ้มไพร่น้อยเมืองบ้านอยู่เกษม สัพพะโรคาไข้เวรกรรมการโศรก เคราะห์อย่างข่องเข็นฮ้ายอย่าพานบ้างแม่ คอมว่าพระกล่าวแล้วลงราชปรางค์ทองแยงมณเฑียรราชวังหอแก้ว แลเห็นพ้องวิชัยยนต์เฮืองฮุ่ง ยอดพุ่งพ้นหลายชั้นซ่อปรางค์มณีโชแก้ว 7 ประการแกมเมฆ ประดับดาดฟ้าหลายล้านลูกดาว มีทั้งเหลืองขาวแก้วดำแดงดูสะอาด ประดับลาดพื้นนิลแก้วแบ่งสีอันว่ามณเฑียรท้าวเทียมทันเทวโลกจริงแหล่ว เมื่อนั้นภูวนารถเจ้าทั้งไท้แม่มะทีแลดูห้องปรางค์ทองผาสารท พระบาทเจ้าทั้งน้องฮ่ำไฮอันว่ากรรมใดแท้มาประจนจำจาก จึงได้พลัดพรากห้องหอแก้วราชวังพี่เด่ ค่อยอยู่ดีเยอยอดช่อฟ้าปราสาทมุงมณี ทั้งเม็งชรบ่อนเตียงพรมผ้า เทื่อนี้เฮาจักลาไลไว้ฮามนอนกั้ว

กลิ่นกันแหล่วนับมื้อไกลออกหน้าความซิใกล้บ่มีแลนอ ค่อยอยู่ดีเยอมณเฑียรกว้างวิชัยยนต์ผาสาทกูเอยทั้งบ่วงคุ้มสนามเล่นเรื่องโขน เทื่อนี้เฮาจักไลฮามไว้สนามไชยค่อยอยู่ดีท่อน ฝูงหมู่นาคราชเจ้าในน้ำโบกบึงเจ้าเอย... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์, ผูกที่ 2.)






























4. กัณฑ์ วณปเวสน์
บัดนี้ จักกล่างเถิงองค์กษัตริย์เจ้าจอมธรรมทั้ง 4 สองก็อุ้มอ่อนน้อยพะเรฝ่ายเคี่ยนดาว ตามตาดห้วยเทียวท่องทางคืน หลิงสาขางางามเงาเงี่ยม คีรีนั้นอยู่เกษมแสนพาก พื้นฮาบเผื่อนผาล้านล่วงสบาย คอยเห็นวันสอดไม้ลับเหลี่ยมลงแลง สุริโยยวงผ่างภูคงไม้ สองกษัตริย์อุ้มเอาองค์บุตราราช ยัวระยาดย่ายเพียงน้องค่อยเดิน แล้วจึงไปถึงเท่าบัพพะโตโตนตาด เข้านั้นชื่อว่าคันธมาศกว้างดวงไม้มากมูล ปูนดีเบื้องกระบวนคือ คนปลูก เพ็งพ่างถ่วนเลียนต้นถิ่นแถว เป็นแนวไม้สุคลธาทรงกลิ่น ยามเมื่อลมล่วงต้องหอมละห้อยกลิ่นตอง อันว่าสองกษัตริย์เจ้าบรรเทาพักเหนื่อย ชมดอกไม้สองเจ้าส่วงเหงา ฝูงหมู่รุกขาเบี้ยงเพียงกันบานแบ่ง ละอองกาบอ้าบานใกล้กลิ่นไกล ภูมะรินล้อมดงภูแมงภู่ กั้วกลิ่นแล้วบินเข้าหว่างขา มะชุผาเผิ่งแตนตอทั้งต้อ เสียงสนั่นไม้ดงกว้างดั่งกลอง ในหนห้องเขาคำยามค่ำ วันต่ำค่อยคอยล้ำลำไพร คึดเมือไกลเมืองบ้านใจบานชมชื่น จิตหล่าหล่งหลงบ้านเก่าหลัง ในดอยกว้างมีกวางเป็นหมู่ หมูเถื่อนต้อนผีด้วนดั่งตอน แลเห็นสอนลอนไม้จำปาเป็นป่า ฝูงหมู่เฟื้องฟ่าสัมสมต้นเว่อนาว อันวาภูธรท้าวทรงกระสันอกสั่น สัพพะดวงดอกไม้ดงช้างป่าซาง พระก็พานางขึ้นเขางอนเมืองง่อน ตามไต่ก้อนผาล้วนสำราญ คอยไปหน้าดงหนายาวย่าน สองก็อุ้มอ่อนน้อยพาผ่ายเผ่นผาย หอมดวงไม้ทรงสะออนอกอ่อน สัพพะพืชโภชน์พร้อมในด้าวดั่วดาว ภูธรท้าวเหลียวคอยเดินค่อย น้อยหนึ่งม่มดงส่านป่าสานโพธิสัตย์เจ้าพานางเซาตาด วางลูกน้อยลงเล่นข่วงพลาน ยามนั้นราตรีค่อยวันเวียนเทียวทีป แสงส่องเค้าบังเบื้องเหลี่ยมสุเมรุ สองกษัตริย์เจ้าเซานอนเทิงง่อนกกกล่อมแก้วสองน้อยเน่งนอน เถิงเมื่อราตรีซ่อนลมหนาวหมอก ดาวดาดฟ้าเงาซ้ายไก่ขัน แลเห็นพระจันทร์แจ้งบูระพาเพ็งทีป ใสส่องด้าวเขาเงียบแง่ผา ฟังยินสกุณาเค้ากาเวาห้องฮ่ำ เสียงไก่แก้ขันชันทั่วไพร อันว่าสองกษัตริย์ไท้ไสยายามงีบน้อยหนึ่งแจ้งแสงผ่ายพรุ่งภู พระพี่น้องโลมลูกสองศรี ชาลีทั้งกัณหาตื่นมาเพียงพร้อม สองกษัตริย์อุ้มเอาองค์บุตราราชยัวระยาดผ่ายผาล้วนล่วงลง พอดาวเท่าธรณีตีนตาด พระบาทเจ้าพาน้องดุ่งเดิน ดงหลวงกว้างไพรสนแสนย่านมีหมู่ไม้หลายล้านเลียบดอย ยามเมื่อวาโยยู่กวยกิ่งเงางามสาขีเขียวป่งใบบานบ้าง ฝูงหมู่นารีต้นจูมจีจอมดอก บานแบ่งก้านหอมกั้วกลิ่นไกล มีมากล้นหนีม่วงเฟืองไฟ เกียจอนจับบ่างบินตอมต้น ผลผลาไม้สุกเยาว์ยังอ่อน บางผ่องดิบดาดต้นพอห่ามเหิ่มเหลือง ในดงกว้างคือคนไปปลูกอนันอเนกล้นมีถ่วงดั่งสวน สองกษัตริย์เจ้าเสวยพลางพอชื่น แล้วเล่าป้อนอ่อนน้อยสองหล่อนเมื่อจร พระองค์หมายเบื้องอุดรเดินเทศ เพราะว่าเจตราชท้าวทูลชี้ช่องทาง โพธิสัตย์เจ้าพานางลัดล่วงน้อยหนึ่งเข้าพาล้านป่าลาน เขานั้นอุดมด้วยสถานภูมิเพียงฮาบ เฒ่าแก่เฮื้องประถมอ้างซ่าเซง ชื่อว่าวิบูลย์บรรพตกว้างเขาหลวงถ้ำใหญ่ มีหมู่ไม้เต็มถ่วนเถื่อนแถว อันว่าแนวไผแท้แนวมันเป็นหมู่ ยายแยกต้นเงาเงี่ยมฮ่มเย็น แดดบ่ต้องแสงส่องปถพี พระพายพรมพัศส่องวอนหายฮ้อน เมื่อนั้นภูธรท้าวเทวีเหลียวผ่อ เข้านั้นสูงใหญ่กว้างประถมเฒ่าเล่าลือ ฟังยินคื่น ๆ เค้าลมล่วงจอมดอย วาโดยหลวงแฮงแฮงตำต้อง เป็นควันกุ้มผงธุรีมัวมืด ไม้ใหญ่ล้มผาล่านโค่นคอน โทด ๆ เท่าก้องเถื่อนหิมพาน เมฆีควันหมอกมัวมีแจ้ง เมื่อนั้นโพธิสัตย์เจ้าเตือนนางน้องนารถ ให้คาดเนื้อหนาแน่นแต่งตัว คาวนี้เป็นปางฮ้อนโฮมเฮาน้องพี่ เอาแต่บุญซอยอยู่ยามยุ่งไต่ดอย อันว่ากัณหาน้อยนางเอาอุ้มแนบ ผู้พี่ไว้วางข่อยเดื่อนดาว คอมว่าพระกล่าวแล้วคาดเครื่องธนูศร พาเทวีเคี่ยนดาวเขียวขึ้น เป็นแต่บารมีเจ้าจอมธรรมมหาเวส ก็บ่มีเหตุฮ้ายทั้งเหง่าแม่มะทีกับทั้งสองศีสอยกุมมารทั้งคู่ ภูวนารถเจ้าพาน้องล่วงลงเฉพาะหน้าก้ำฝ่ายอุดร เดินดงหลวงกั่วไกลหรือไกล้ ชมดวงมิ้เขาหลวงหิมะเวส พระยาเวสเจ้าทั้งเหง่าแม่มะที กับทั้งสองศรีส่อยเดินพลอยพรากไพร่ แลล่ำไม้สูงดั้วด่านดง ฝูงหมู่ลิงกังเต้นโตนตามงอยง่า ในป่าไม้มีถ้วนสู่เชิงพระพี่น้องเยือนยากยามพลอยกอยใจฝายเคี่ยนคาวไปหน้า... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 4 วนปเวสน์, ผูกที่ 1.)
































5. กัณฑ์ชูชก
บัดนี้พระเวสตร์หนีจากบ้านแฮมเถื่อนพงไพร ไปอยู่เขาวงกตพ่ำเพ้งเพียรสร้าง เมียไปพร้อมทั้งศรีสองอ่อน ไผผู้ต้องพระองค์ให้บ่ขีน เมื่อนั้นพราหมณ์มะโนฮ้องคางโอยไกลมากจริงน้อ คันว่าพี่หากหนีจากน้องยามน้อยก็ส่วนตายพี่แหล่ว เมื่อนั้นนางเมียได้ยินคำผัวว่า มันด่าป้อยพราหมณ์เฒ่าชั่วทราม มึงอย่าคอยเห็นหน้ากูซิหนีมื้ออื่น ตื่นมามื้อเช้าซิเมือบ้านก่อนงาย กูซิไปหาชายซ้อนชังมึงคนขลาด ซาดเฒ่าบ้าคำฮู้บ่มี ทั้งหลายได้เมียสาวฮักยิ่งจริงนา ควรฮีบฮ้อนหาให้สู่เชิง มึงนี้บ่มีจิตอ่าวเอื้ออุปฐากตนกู ประสงค์อันใดก็บ่เป็นไปได้ เสียแฮงกูหากมาตามส้นเสียผลฮามประโยชน์ กูเป็นแม่ฮ้างน้อยคราวนี้บ่าวซิโฮมอยู่แหล่ว เมื่อนั้นพราหมะโนเฒ่าพุงโตต้านตอบ มันหย่อนย่านเมียน้อยบ่เอา ตัณหาหุ่มโทมสังสิงสู่ มักฮูปน้องลีมย่านหย่อนตาย มันจึงแข็งใจต้านบ่มีกลัวเกรงยาก การท่อก้อยซิไปฮ่อนฮ่อมใดน้องเอย การที่หาคนให้หาเหาก็ยากกว่า พี่หากเยียวหยอกน้องลองเล่นเบิงกระบวน ให้น้องจัดการให้ของกินเดินป่า อุตตะโมแท้เดินดงได้ประโยชน์ ฮีบห่อเข่าเกือนก้อนแจ่วบอง อันว่าตองตัดให้กับเหล็กไฟยาสูบ ถงย่ามยุ่มกระเทียวฮ้างฮ่มแพ ฑัณเทไม้หอยสังเกาขี้กราก กับทั้งหม้อปากฮ้างหุงเข่าอย่าลืม อันว่าของกินด้าวเดินดงให้ตาแต่ง ทั้งเข่าแห้งสารจ้าวแจ่วผงกับทั้งกดกุบเกิ้งกันหนามหนังเกิบ ฝูงหมู่ปลาแดกบั้งบองจ่ำแจ่วเกือ อันว่าเขือขิงแห้งกินตนอย่างประมาท เทื่อนั้นนางนารถน้อยตาถ่วนแต่งพอ มันจึงยอมาให้ผัวตนตามฮีต เฒ่าโหดฮ้ายเห็นแล้วอุ่นใจ เมื่อนั้นพราหมณาเฒ่าเฮอนให้ต่อ คึดเมื่อไกลจากน้องคะนิงโอ้อ่าวหา โสกาก้ำไกลเฮือนแฮมป่า เฒ่าปวงบ้าแลน้องล่ำเลิง มันก็เยือนยากต้านโลมเล่าเมียขวัญ ฟูม ๆ จาสั่งเมียในย้าว คราวนี้พี่จักไลลาน้องครองเฮือนอย่าประมาท ให้น้องนอนอยู่ลี่ประตูส่วมอย่าไข อันว่าชายใดต้านมาจาจงเฮียก น้องอย่าได้กล่าวต้านลวงลิ้นบ่ดี ให้น้องนอนในห้องอย่างปองไปหาเที่ยว ชายใดมาเกี่ยวต้านตะบองค้อนต่อยหัวพี่เนอ อย่างได้กลัวเกรงย้านรักษาตัวตามฮีต คันพี่กลับด่าวบ้านซิไปฟ้องยื่นศาล คอมว่ามันสั่งแล้วลงจาเคหา ชลธาแถวฮ่ำไฮหิวไห้ มันก็พายเอาได้กระเทียวถงครบเครื่อง สักไม้เท้าพราหมณ์เฒ่าค่อยเดิน ตั้งบ่ายหน้ากรุงใหญ่ปะเชไชย หลายวันคีนดุ่งเดียวทางฮ้อน นับแต่พราหมณ์จรผ่ายอรัญญายาวย่าน เดินด่านไม้หลายมื้อฮฉอดนคร มันมันจึงถามเถิงเจ้าพระยาเวสตร์ เมื่อนั้นชาวประเทศฮู้กลเฒ่าคั่วขอ เขาก็โฮมกันฆ่าตามตีต้อนไล่ เฒ่าบาปใบ้คนนี้ชั่วทราม มันหากตามหาเจ้ากระบวนกลการหลอก คันมันฮู้บ่อนเจ้าซิขอเหง่าอ่อนอนงค์ เฮาบ่ควรคงไว้ชีวังคนท่อย คันหากปะปล่อยไว้ซิเคียงฮ้อนฮอดพระองค์ ค่อมว่าเขากล่าวแล้วพร้อมตามพวกตี คนหลายลุกแล่นตามตันหน้า อันว่าพรามหณ์มะโณเฒ่ากลัวตายวิ่งแล่น ท้องแห่งโส่โลปุ้งปึ่งดัง ขาแขนตำตอก้นขี่ทั่ง ตีนหน่อไม้หนามเสี่ยนเสียบแทง อันว่าถงกระเทียวเฒ่าสายตะพายหูขาด มันก็คาดลาดล้มยืนได้ก็แล่นไป ฝูงหมู่คนชาวบ้านตามตีหลงป่อง แล่นลัดป้องพรามหณ์เฒ่าก็เล่าหลง เมื่อนั้นพรามหณ์โหดฮ้ายกลัวหลงจิต ตามันบ่หวนเห็นแจ้ง มันก็แยงยังเจ้าจอมธรรมทรงผนวช หมายเน่งชี้คะเนเบื้องป่องไป มันก็ข้ามด่านไม้ดงใหญ่หิมะพาน หลายวันคืนบ่เซาไปเช้าเลยไปจวบเจ้าเจตราชพรานไพร สุนักขาฝูงคั่วเคยคะณาเนื้อ หลายตัวเต้นตามดงหอนเห่า ฝูงมิตตะราชย้านโตนเข้าหว่างเขา สุนักขาเฒ่าพรานเคยพาคั่ว แสวงไล่เนื้อในด้าวด่านดอยแล้วจึงมาจงวบพ้อเฒ่าเพดพรามหณ์มะโณ รุงรังถงไถ่ทอกระทิงน้ำ มันก็คุมคามดงหลวงหิมะเวศ เฒ่าเผดฮ้ายหลงบ้านสะแม่งตาย อันว่าสุนักขาฮ้ายดังดีดมสืบ คันว่าถืกกลิ่นเนื้อเฟือเช้าบ่ถอย สังหารฆ่ามะหิงสาเมยมั่ง บ่ได้หยุดหย่อนยั้งพรานหน้าเที่ยวตะเวร วันคนพรานเพียรระวังเขต เพราะว่าเจตราชเจ้าวางให้ด่านดง ให้รักษา 4พระองค์เจ้าชีไพรระวังเหตุ สกัดกวาดต้อนตันท่างด่านทาง ไผผู้ยังขืนเข้าไปเชาชีวังขาด พรานบ่ไว้ยิงฆ่าล่วงแดน เมื่อนั้นหมาหมู้พร้อมเห็นฮูปพราหมณ์ฃะรา รุงรังถงไท่ทอกะเทียวบัง สุนักขาเต้นทะยานโยงหุ่มใส่พราหมณ์ขึ้นต้นไม้ทั้งไห้ฮ่ำไฮ เทื่อนี้กูเฒ่ามาตายกลางป่า พรายาเวสตร์เจ้าเนาว์ห้องแห่งใด เมื่อนั้นเจตบุตรผู้พรานไพรฟังพราก หมาเห่าหุ่มเสียงฮ้องแม่นตน ออกชื่อเจ้าจอมประเสริฐชีไพร ยุติบั้นฟังกัณฑ์ผูกใหม่คุณโยมเอย... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 5 ชูชก, ผูกที่ 2.)






























6. กัณฑ์ จุลพล
เมื่อนั้น มันอุตส่าห์สู้จำใจเมียแต่ง ขีนบ่ได้บ้าป่วงมา อันนี้ท่านว่าตัณหาหุ่มโลโภพาด่วน ตายย่อนเมียหนุ่มน้อยได้ลงหม้อแผ่นแดงมันแข็งใจเข้าเดินเขาเขียวเถื่อน มีหมู่ลิงค่างเต้นโตนค่อมง่าคอม หลายตัวพร้อมพวงพันพากลูก บางผ่องจับจ่องอุ้มงอยไม้ซ่วงซิง ฝูงหมู่ลิงลมพร้อมเกียจจอมแก่นบ่าง กะเล็นฮอกจ้อนเห็นอ้มกระต่ายแตหลายตัวเต้นเต็มไพรขีนซ่อย มีทั้งแลลลิ่นพร้อมตีนเตี้ยเต่านา มีทั้งหมาในเต้นคุมควายหอนเห่า มิคคราชเต้าหลายถ่วนต่างชุม อันว่าเฒ่าเผดฮ้ายเฮ็วฮีบแฮมไพร คนเดียวเดินดุ่งทางเทียผ่าย มันก็คอยหลิงเยียมคืนมาบ้านเก่า เฒ่าก็คึดฮ้อดน้องเมียน้อยบ่บาน ยามเมื่อคึดฮ้างปานป่วยปางหนัก พราหมะโนคิดฮุ่งเมียใจสะบั้นมันก็ฮอมขันธ์ 5 ตาตนเดียวสฃเถื่อน เฒ่าค่อยเยื่อนไปหน้าเดื่อนดาว พอเห็นนกเนื่องเต้าหิมะเวสไพรพง สักกูนานางก่อมดาดอมชู้ ฟังยินกาเวาโตเวยเฮียกคู่ มันก็ฮ้องฮ่ำไห้เสียงส้อยสั่งไพร มีทั้งเลไรแมงอีเอ้าเถื่อน เดือน 4 ค่อนคิมหันห์เข้าเปลี่ยนฤดู ฝูงหมู่รุกขาเสี่ยวแสนกอกางดอก เพ็งพ่านถ้วนเต็มด้าวง่างาม บานเฮือเฮ้าหิมะเวสเขาหลวง พะยอมไพรเพียงคู่แดงดานดั้ว สาระภีพร้อมฮังชายแซมเกษพราหมณ์ผ่อแจ้งเห็นถ้วนสู้เชิง คับคั่งล้นมี่ม่วงนาวการ เจียงลมเลียนต่อแนวนางอั้ว แลนเห็นขัวนัวไม้ยุงยางยาวย่าน พะลานพากพื้นเงาเงี่ยมฮ่มเย็น อันว่าเฒ่าโหดฮ้ายพราหมณ์พ่ำเพียรเดิน หลายราตรีดุ่งเทียวทางฮ้อน นับแต่พราหมณ์จรผ่ายภูเขาเขียวเถื่อน หลายชวบมื้อเถิงเท่าท่าสะพัง ชื่อว่ามุจลินทร์น้ำสระศรีใสส่องอยอยู่แห่งห้องกลางด่านดง มีบัวแก้วขาวแดงเดียระดาษ เต็มแม่น้ำนิลบ้างแบ่งสี เป็นสะพานกว้างทรายขาวเขินหาด บัวเบ่งก้านบานพร้อมผ่องจูม อันว่าชุยซะโกเฒ่าเดินไพรพลอยจวบมันก็เห็นแม่น้ำล้นต่างตา เฒ่าโฮดฮ้ายกินอาบเซาแฮง มันก็แยงสระหมู่ปลาในน้ำ ประทุมทองแก้วอุบลบานแบ่ง ฝูงหมู่แมงภู่ลงกั้วกลิ่นละออง อันว่าพราหมณ์มะโนเฒ่าเซาแฮงพักเหนื่อยน้อยหนึ่งดั้นเดินเขา มันก็แยงยังเจ้าจงใจจอมประเสริฐ คิดใคร่ขออ่อนน้อยสองเจ้าเจียงจอม มันด่านดั้นฮีบเฮ่งโฮมกระหายกะแปนปูจือแจหมั่น สะเกณ์หมายก้ำโปแกมกะถูก เหตุว่าพรานบอกให้รัสสีแจ้งด่านทาง มันจึงฮู้ฮ่อมเบื้องตำหนักป่าพงษ์กษัตริย์ พราหมณ์มะโนนึกกระจำใจแจ้ง อันว่าอาศรมเจ้าจอธรรมทรงผนวช อยู่ที่ใกล้วันนี้ฮ่วมนอนแท้แหล่ว ค่อมว่ามีนฮำแล้วเดินป่าเขาหลวง แยงไพรสนณ์ปู่พงช้าง คีรีนั้นอยู่เกษมแสนพาก ฟื้นฮาบเฟี่ยนผาล้านล่วงสบาย ฟังยินลมสวาดไม้ผิวโลกรังสี ขวัญพราหมณ์พัดพากพิงคือบ้า เวทนาพราหมะโนเที่ยวเถื่อน มันก็เลื่อนๆ น้ำตาให้ห่วงเมีย โสกีย์ก้ำไกลเฮือนแฮมป่า มันก็คึดฮอดบ้านสีเศร้าบ่บาน ฟังยินเสียงไก่แก้ฮ้องฮ่ำเฮียงคอน ชะนีนางวอนฮ่ำไห้หาชู้ ฝูงหมู่ผีโพงเป้าขีณีบริศาจ ดงด่านช้างสารฮ้ายท่องเทียว อันว่าพราหมณ์โฮดฮ้ายหินะชาติเมามืน มันกลัวตายค่อยคานบังลี้ มันก็เหลียวไปหน้าคาหนามเกาะย่าม พรามหณ์เฒ่าก้มโคมไม้ดุ่งเดิน คะเคลื่อนย้านเยี่ยนยากเฮวแฮง สุริโยยวงค่ำแลงไม้ ฟังผีพายฮ้องขนพองโพงข่าง ป่างลั่วฮ่องเสียงจ้อยสม่อยดง มีทั้งเสือสางเต้นตันทางเทียวเถื่อน มัวมืดไม้พราหมณ์เฒ่ายิงกลัว ขนคิงกลัวตายย่านสั่น มันก็คึดเกี่ยวก้ำพระองค์ทรงธรรม คราวนี้จวนเถิดเจ้าชีไพรพระยาเสวตร์ ยามวันนี้ค่ำแล้วแล้วพระนางเจ้าอยู่ตุ่มลูกน้อยเพียรพ่ำพระองค์กษัตริย์ กูจักเขียวคืนนอนบ่ใช่บริการขอได้ เหตุว่ากษัตริย์ไท้เพียรแพงบุตราช เหมือนดั่งควักพระเนตรหน้าสองเบื้องแบ่งหนีได้เด ควรกูนอนคืนค้างวันลุนแจ้งส่องมาแล้ว นางนารถเหง่าพระองค์เจ้าสู่ไพร คงจักฝากลูกไว้จอมผนวชทรงศีล ภูมีหอมห่อธรรมซิทานให่ เพราะว่าองค์กษัตริย์สร้างโพธิญาณล้นโลก ไผผู้แค้นคั่งเศร้าซิขอได้ประสงค์ ยอยังองค์สีส่อยทำทานบริจาค กูนี้ทุกข์ยากแค้นขอได้ซิด่วนไป คันหากยังอยู่ช้าพระแม่สิมาเถิง ความเคืองขัดมุ่นมัวบ่มีให้ เหตุว่านางกษิตรย์ไท้สันแดดอมลูก ฮักฮ่อหุ้มซิขอได้ฮ่อมใด ค่อมว่ามันฮ่ำแล้วขึ้นสู่ปลายเปลือย แปลงสาขาง่าเนินนอนลี้ ยุติกาชุยชะโกเดินเถื่อน พอแต่สังเขปข้อแถลงชี้เงื่อนเงา บ่ได้ละเรื่องเค้ากลอนเก่าคณิงเถิง ภายลุนกลับซิกล่าวทวนทางเค้า...ขอให้ศัทธาเจ้าคุณโยมฟังต่อ...เอาเด้อ... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 6 จุลพน, ผูกที่ 1.)





























7. กัณฑ์ มหาพล
บัดนี้จักกล่าวเถิงจอมกษัตริย์เจ้าโพธิญาณมหาเวสตร์ กับนางนารถเหง่าสองน้อยหน่ออินทร์ นับแต่วิบากเบื่องเจียรจากเมืองมา อินทราก่อแปลงให้ อันว่าองค์กษัตริย์ ไท้พาเมียทรงผนวช บวชสืบสร้างศิลช่อยสำราญ ฮุ่งเช้ามะทีพำเพียรผัว ทั้งกุมมารอ่อนศรีสองน้อย นางก็กอยใจคั้นหามันในเถื่อนกินหมากไม้เข้าต่างเข้าอยู่ ทุกข์ยากเยื่อนล้นโลกแสนถนัด ผาลาเล็มบ่างเกียจรด้าว พอเถิง 7 เดือนถ่วนนางพระยาเทียวป่า ไปทุกมื้อพระนางเจ้าผู้เดียว เถิงเมื่อวันค่ำค่อยนางต่าวคืนมาเถิงศาลาก่อไฟฟืนต้ม ทันใดเขียวพอประมาณมันเปื่อย นางปงสู่เจ้าองผัวน้อยผ่ำเสวย เหนือดินหญ้าตองปูเป็นถาด พระบาทเจ้าเพียนสร้างบ่ถอย ฮู่งค่ำเช้าต้งต่อกตัญญู ครองนีระพานบ่ไลวางเว้น เทื่อนี้เวรหลังเจ้าจอมธรรมทั้ง 4 หนีบ่บ้นเวรซิให้ห่งกัน ทุกข์บ่แล้วซ้ำเล่าเลิงแล่นอ ชื่อว่าโลกีย์กรรมบ่ห่อนไผซิหนีพ้น คันเสวยแล้วพระนางเนาว์ไสยาสน์
ผิดประหลาดปล้ำกระบวนเบื้องต่างหลัง ขนหัวคิงพองพันเล่า ทั่งเล่าหนาวกลับต่าวฮ้อนคืนคือไข้ก็ใฃ่การอันว่าพระนางกลิ้งปานเป็นบ้าป่วง หลับบ่ได้ตากระด้างสะเม่นมัว นางกษัตริย์ฮ้อนปานไฟเผาจูด ลึกนั่งแล้วตะแคงข่วมด่าวหงาย หลายทีแท้พยายามนอนยาก ใกล้สิแจ้งนางสะม่อยมิ่งฝัน ฝันว่าชายชราเฒ่าคือผีหีนะโหด โตตเติบด้ามดำดังคาม สะเอวผ้าเกี่ยวเหน็บกะเดี่ยว ท้องผ่างโผ่โลปุ้งปึงดั่ง กายปูมเข้าเป็นปมเกี้ยนยาก ก้ากซากแข่วขาวกล่าบุ่งงา อันว่าหูสองก้ำชบาแดงเหน็บดอก ใจโกรธกล้าแข็งเข่มเป่งเสียง กรกำง้าวดวงแสงไสปาบ มาบๆ เล่มกำง้าวแล่นเถิง มือจับเกล้าชฎานางดึงแก่ น้อยนารถล้มลงพื้นแอ่วยอม มันบ่เอแถมโกรธคำราม ยอตาวตัดดึงขาดคิงให้ พระกรขวา-ซ้ายฟันสีนตัดขาด ง้าวผ่าท้องสาวไส่โพนพุ่ง มันก็ตัดเอาได้หัวใจนางนารถ ทั้งเหล่าพระเนตร?หน้าสองเบื้อแบ่งหนี โลหิตย้อยไหลแดงล้นหลั่ง น้อยนารถย้านหิวไห้ฮ่ำไฮ เป็นป่วงบ้าสดุ้งตกใจ คิดว่าตัวตายจริงผ่องยำเกร็งย่าน คันอยู่พอประมาณน้อยนางคัวคำลูบ แขนข่อเท้าพระกานถ้วนดังเดิม นางจึงฮ่ำฮู้แจ้งว่าฝัน พระทัยคึดนั่งตอมตนเศร้าโสกีย์ก้ำคณิงฝันแสนโศก อันนี้เคราะห์โชคแท้ดีฮ้ายดังใด ไผซิมาขันค์แก้การกูฝันหลาก ทุกข์ยากฮ้ายพงษ์เชื้อก็บ่มี คันว่านางเนาว์ในห้องสีพีนัคคะเรศ เหตุท่อนี่ซิหาเฒ่าท่านโหร คราวนี้กูหากเนาว์ในด้าวดงไพรพราก เพื่อนทุกยากเยื่อนซิเหลียวหน้าเบิ่งไผ มีแต่องค์กษัตรย์ไท้จอมธรรมพระยาเวสตร์ ปกเกศเกล้ายามยุ่งเพิ่งกัน ควรกูไปทูลเท้าทำนายสาเหตุ พอให้สังเกตฮู้ดีฮ้ายจึงควร ค่อมว่านางฮ่ำแล้วสุริเยศเฮืองแสง พระพายพรมไพรเฮือดาวดาด่อย ฟังยินลมเผลียงไม้ใบบางใกล้ซิฮุ่งมาแล้ว นางนารถเจ้าคณิงฝันเกี่ยวฟัน แล้วจึงกกก่อมบุตราราชเพียรแพง สองกุมมารเน่งเนาว์นอนนิ่ง นางค่อยปองไปเฝ้าจอมธรรมโพธิราช นางนารถน้องเถิงเท่าที่ทวาร แล้วจึงบังคมน้อมชุลีกรก้มกราบ ประนมพื้นเจียมเจ้าเพื่อนพลอย นางจึงยอพระกรต้องประตูทองเทียมท่า ยกยื่นนิ้วกระดานต้องต่อยตี เสียงส่งก้องพระกัณโสดจอมธรรม เมื่อนั้นโพธิญาณหวลฮ่ำเพิงคะณิงแจ้ง อันนี้ว่าผีสางโพงพายเป้าป่า มาหลอกให้เฮาย่านกลัว หรือเทพาด้าวแดนดงหิมะเวส หรือว่าครุฑนาคน้ำในเงียมแง่ชล สัปปะดลเล่นลวงกูเยียวหยอกจริงลือ ทั้งหากผิดประหลาดล้ำทวารต้องต่อยตี จักแม่นผีคนแท้กระดานดังดูแปลก เมื่อบ่ต้านไต่ต้อยดีฮ้ายสองเห็น เมื่อนั้นโพธิสัตว์เจ้าเจียมจาเอิ้นเฮียก ไผผู้นั่งอยู่หั่นตีต้องต่อยกระดาน ฮีบบอกบ้างเป็นชาติชายหญิง เฮาเห็นคักอย่าป่องไปลี้ เมื่อนั้นนางกษัตริย์ไท้ทูลทันโพธิราช ข้านี้บ่แม่นคนต่างด้าวเดินป่าปอมมาพระเอย หากแม่นนางเพื่อนพลอยพระองค์เจ้า เมื่อนั้นโพธิสัตว์เจ้าจอมธรรมจักเที่ยว น้องนี้ผิดประหลาดล้ำมานี้บ่ใช่การแท้แหล่ว นางหากลืมความเว้าปฏิญาณยามพนวชจริงนอ ครองเคื่อนม้างลวงลึ่งล่วงแดน ชื่อว่าตัณหาฮ้อมมาตุความโลภ ครองฆาราวาสเว้นเฮาให้ห่างไกล คำพี่นนี้ได้สัญญาไว้นางลืมเล่า ความเก่าน้องมาม้างบ่เอา เมื่อนั้นนางตอบต้านทูลเอกองค์กษัตริย์ ข้าบ่มาราวีล่วงครองคุณแก้ว การน้องมาให้ห้องจำเป็นปางโศก ตั้งหากอุปปะโหลกแท้ฝันเที่ยวเลี่ยวหลากกระใจ ยุติบั้นจุมพลไว้ก่อน...คุณโยมเอย.... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 7 มหาพล, ผูกที่ 1.)































8. กัณฑ์ กุมาร
บัดนี้อันว่าตามพราหมณ์เฒ่าแสนงอนคนฉลาด ตลบหลอกล้มล้อลิมว่ากระบวน จาทางอ้อมเสริมความเล่ห์เหลี่ยม นับนึงได้พราหมณ์ เฒ่าฉลาดขอก็นบนอบนิ้ทูลเจียมจา อันว่าจอมใจบุญอยู่เนาว์ในด้าว ยังค่อยสวัสดีน้อมทรงธรรมเพียรประโยชน์ โพยพยาธิฮ้ายเบียนเจ้าก็บ่มีแน่ลือ ฝูงสัตว์เสื้อช้างเมยมอมควายเถื่อน ฝูง หมู่ยงและฮิ้นงูเงี่ยวเห่าจอง กับทั้งทำทานพร้อมจงอางสางห่า ในป่าเบียนเจ้าบ่มีแต่ลือ ฝูงหมู่ผลผลาไม้มันกอยในป่า หาง่ายได้พอเลี้ยงชีวิตชีพชีวังแต่ลือ ข้าเฒ่าคิดใครฮู้เห็นฮีตตรองพระองค์ ผู่หมู่โภยภัยสังซิบ่มมาต้อง เพราะเพื่อโกศลทเพียรล้นโลก สัตว์สิ่งเนื้อในด้าวเพิ่งบุญ พระทัยก้วางสมุทโททั้ง 4 เหมือนแม่น้ำแปวทะเลกว้าวยาว ไหลเลิงล้นทุกเมื่อฤดูกาลบ่ห่อนเบาบางบกขาดวังเวินตื้น ฝูงหมู่มังกรแข่ปูปลากุ้งโก่มทั้งนาคราชเจ้าในน้ำอยู่เย็น อันว่าสัตว์อยู่ใต้ลุ่มฟ้าขงเขตจักระวาฬ มวลมาเหมิดคู่เต็มพื้น อาศัยน้ำทะลหลวงอาบก็บ่บกขาดแห้งยังล้นเท่าเดิม อันนี้เหมือนดังองค์กษัตรย์สร้างโพธิญาณแยงโลก ฮักฮ่อตุ้มคนแค้นขั่วขอ ปราณีเลี้ยงทำทานคนชมอด ไผผู้แค้นคั่งเศร้าขอได้ดั่งประสงค์ ข้านี้ทุกข์ยากฮ้ายเขินขาดแลงงายพระเอย ฝูงหมู่พงษามาสูญอย่าเดียวดายดูฮ้าย จึงได้จำใจดั้นเดินทางมาแขวเถื่อน ทุกข์ยากเยือนตาเฒ่าดุ่งเทียวเพราะหวังเพิ่งแก้วลูกประเสริฐดวงดี ชื่อว่ามณีโซใสหากส่องเงาเห็นแจ้ง บัดนี้ข้าจักขอเจ้าบังออนสองอ่อน ขอให่พระผ่อนเลี้ยงทานเฒ่าอย่าขีน เมื่อนั้นโพธิสัตว์เจ้ายินสงวนซ่อยซืนคือคนได้หมื่นตื้อคำล้านใส่ถงก็จึงต้านตอบเฒ่าพราหมณ์แก่ชราการ เฮาหากเนาว์ในไพรอยู่เย็นหายฮ้อน ฝูงหมาโรคาไข้หวัดไอเป็นป่วยบ่มีแล้ว กับทั้งผลหมากรากไม้ในด้าวหมู่มันยังพอหาฉันได้ในดงมีมาก ฝูงหมู่ยุงเหลือกฮิ้นงูเงี้ยวก็บ่เบียน ท่านนี้หวังประโยชน์ด้วยบุตราชกุมมาร เฮาบ่มีขีนขัดซิทอดทานเทให้ เหตุว่าเฮาสมสร้างสัพพัญญูญานประเสริฐ แต่เฮาฮักลูกน้อยสองล้นลื่นประมาณ คราวนี้เหมือนดั่งเฮาเจาะแก้วดวงตาทั้งคู่ควักพระเนตรเนื้อในหน้าออกทาน เพราะว่าเฮาหากหวังเพิ่งแก้วดวงประเสริฐโพธิญาณ ยิ่งกว่าสองบุตรแสนตาหมื่นกือล้น แต่ว่าเฮาจักผัดหมายถ่านางพระยาไปป่า คันนางมาฮอดแล้วตาเฒ่าจึงค่อยไป พอให้นางได้เห็นหน้าโมทนากับลูก ทั้งนางเป็นผู้เลี้ยงกินจู้ม่ามนม ทานเอย เมื่อนั้นพราหมณ์ตอบต้านพระยาเวสตร์ชีไพร พระจักทำทานไปอย่าเอามาอ้าง จักให้คอยคองถ่านางพระยาไปป่ามานั้น คำนี้ผิดฮีตแท้จอมเจ้าอย่าจา ชาติที่จริงหญิงนี้บางเบาเหมือนนุ่น มีแต่คิดแคบคอยซิหวงห้ามคู่อัน บ่ห่อนทำทานได้บุตรบริจาค ตั้งหากหายากแสนล้านเลือกคน จักให้คอยอยู่ถ่าพระแม่มาเถิง อันนี้เป็นลางก่อไฟโฮมฮ้อน มันจักเสียสองก้ำมหาทานทางประโยชน์คันว่าพระโผดแล้วทานข้าซิด่วนไป เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าจาพราหมณ์โดยชอบ ท่านบ่เยื่อนอยู่ถ่าพระนางแล้วก็ช่างตาม ยามเมื่อท่านจากด้าวดงใหญ่หิมะพาน ให้ท่านเดินทางกรุงสีพีผ่านแนวนครกว้าง อันว่าองค์กษัตริย์ไท้สัญไชยภูวนารถ เห็นอ่อนน้อยหลายถ่าหล่าซิเอาไก่ ท่านจักได้ลาภล้นมามิ่งงัวควาย ทั้งนาเคนทร์หมู่พังพายช้าง กับทาสีทาสาใช้เงินคำหลายหลาก ทรัพย์มากล้นพระองค์เจ้าซิไถ่หลาน เมื่อนั้นพราหมณ์ตอบต้านขัดวาดจำใจ มันบ่เห็นดีดอมกล่าวกลัวเกรงย่าน ชื่อว่ามหากษัตริย์นี้เจียมใจยาก บ่แม่นของหลอกเล่นลวงลิ้นง่ายดาย คันว่าบุญหลายได้พระราชาโผด โชคลาภล้นหลวงให้ย่อมดี ลางเท่อกรรมเข็นข้องความซวยซ้ำตื่ม พระโจทก์แจ้งหาเฒ่าว่าโจรลักลอบดั้นหลานราชจอมกษัตริย์ ความตายเด็งซิขาดคอคาเนื้อ แหนงสู่เมือห้องเมืองกะลิงบ้านเก่า ยังจักเห็นหน้าเจ้าเมียน้อยก็อุ่นใจ เมื่อนั้นสองอ่อนน้อยฮู้ดีเรื่องคดีการ บิดาหอมห่อธรรมซิทานเจ้าให้แก่ตาพราหมณ์เฒ่าจรไพรซิพาด่วน เดียวนี้ยังบ่เห็นแม่เจ้ากินจู้แอ่วนม อันว่าสองอ่อนน้อยย่านสั่นมัวกระหาย เหลียวดูกันค่อยคานไปลี้ หักเฮียวไม้บังตัวตันป่อง พระพี่น้องบังลี้พุ่มหนาม ยังเล่ากลัวพราหมณ์เฒ่าเห็นช่ำย่ายที่ คานหมอลี้ไปหน้าพุ่มหนา สองก็พากันลี้กลางดงคือท่ง หาบ่อนกั้นเจ้าตั้งแต่เป็น พี่ดึงแขนน้องลงสระเสียเลย ถอยหลังลงสู่น้ำหนีส้นเสี่ยงฮอย อันว่าสองอ่อนน้อยเอาใบบัวบังเกศ ปกหุ้มเศียรเหล้าบ่ติง แม่นจักจามไอแท้อดกลั้นเอาอยู่ กลัวพ่อซิทานให้แก่พราหมณ์...ยุติกาปั้นกุมารไว้ก่อนคุณโยมเอย.... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 8 กุมาร, ผูกที่ 1.)































9. กันฑ์ มัทรี
เมื่อนั้น นางหากหลงป่าไม้ไปแล้วต่าวเลิง อันว่าฝูงผลไม้ในไพรก็หายาก เป็นหลากแท้เปือยต้นเปล่าดาย น้องก็เพียรเล็มได้เต็มกระเช้าแล้วต่าว คันว่ามาฮอดด้าวเขากว้างหว่างดอย มีหมู่สางเสื้อต้านราชสีห์ขวงท่า หาป่องเว้นไปได้ห็บ่มีพระเอย เพราะว่าเป็นทางน้อยฮิมเหวเขาแคบ น้องย่อนย้านประณมนิ้วแอ่ว วอนมันบ่เอื้อจนค่ำสิ้นสูญแสง ก็จึงพากันหนีผีกมาได้ น้องบ่ได้ไปหาเล่นชมชายป่า ตั้งหากหวังเพิ่งเจ้าบุญกว้างก็จึงตาม น้องนี้เคยอยู่ห้องเป็นยอดหญิงกษัตริย์ บ่แม่นหญิงสามาลย์หมู่แถลงตื้น จึงได้ตามพระองค์เจ้าคีรีดั้นเดื่อน ทุกข์ยากเยื้อนพระอวนน้องก็แอ่วตาม แม่นว่าการหนักยุ่งแสนทวียาก น้องบ่ได้ปากต้านการยุ่งยากสัง พระเอย นับแต่น้องได้มาเป็นข้าเทียมองค์ภูวนารถ ความประมาทลึ้งลวงเจ้าก็บ่มี ยามเมื่อสุขอยู่ห้องนัคเรศวังหลวงมะทีเคยทำผิดล่วงครองแจ้งคันนางมีใจเลี้ยงอย่าเหลียวแลเลี้ยงต่อ ขอพระฟันมอดเมี้ยนอย่าแพงไว้อั่งดิน แม่นว่านางทูลเท้นทันทีฮ้อยเล่า พระบ่มีปากต้านจาเว่าถ่องความ เมื่อนั้นนางกษัตริย์ไท่ปานเป็นบ้าป่วง อุกคั่งแค้นไฟไหม้หมื่นกอง เพราะว่าภูบาลเจ้าบ่มีจาต้านปาก นางหากทุกข์บ่แล้วหิวให้ป่วงไป พระทัยทวงแค้นแดนดงฮ้องถูก เอิ้นลุกน้อยสองเจ้าแม่มาลูกซิละแม่ไว้เจียระจากไปไกล มารดาหวังไค่คอยได้เห็นหน้า กัณหาเจ้าชาลีลุกแม่มาเยอ พอให้แม่จูบแก้มเห็นหน้าอุ่นใจ ขอให้สองกษัตริย์ไท่อย่าหนีไกลเลยเถิด มาอยู่สร้างปางข่วงอินทร์ อันนี้เป็นดงช้างเสือสางเป้าป่า ลูกอย่าได้ช้ายุงฮิ้นแฮงตอมค่อมว่าแล้วนางแล่นหาฮอย ตามดงหลวงป่าขงเขาเงียบ ไพรพนอมด้าวหิมะมัวมืด ฝูงหมู่เนื้อตื่นเต้นโตนเข้าหว่างเขา สักกุณาเค้าเจียโกนแก้มบ่าง ลิงค่างเต้นโตนไม้ตื่นนาง พระแม่เจ้าหม่นป่าโคมหนาม คุมคามคุบคอยคานไปหน้า นางก็ตามหาเจ้าจอมใจสองลุก ลัดแล่นต้นสองเจ้าบ่เซา หาฮออยเจ้าบังอรลุกอ่อนก้บ่เห็น บ่อนเบื้องทางเค้าแปน อันแต่ในดงกว้างนางวนหลายเล่า ทางเก่าเกี้ยวหลายเที่ยวคั่วหา แม่นจักกะเป็นเส้นทางไกล 15 โยชน์ พระแม่เจ้าพะเนผ่ายผู้เดียว วันนั้นเดือนหงายแจ้งเพ็ญแสงสว่างโลก แบเห็นเมฆม่านฟ้าแสชิ่วช่อเหลือง เลื่อนๆล้อมแผ่งผ่างพระจันทร์โท พระผายลมพัดกลิ่นจวงจันทร์คู่ ฝูงมาลาเสียวหอมสะเทือนในเถื่อน พระแม่เยื้อนยามยุ่งได่ดอย นางก็คึดลูกน้อยจนหล้าหลงจิต สะเจาใจคึดฮ่ำไฮกอยกั้น เททวงมะโนในกั้นสวาท อกคั่งแค้นหิวคั่วไป ทุกข์เถื่อนถ่ำเงียบแง่เหวหิน ภูเขาป่องเทียวทางน้อยนางก้กอยใจดั้นภูชันตามตาด เหวห่อมหลายชั้นซอกหา ปบป่วงเต้นฮ้องเฮียกเอียงความ วอนสองสีแม่มาเมือห้อง มาเยอทองสีธสายใจลูกแม่... พากันหลงป่าไม้ไพรกส้างป่ากวาง หรือว่างูซ่อยฮ้ายเหลียมลายคาบแก่เอาแจ่มเจ้าไปถ่ำเถือนผา หรือว่าเสือสางราชสีห์สัตว์ป่ามาคาบเจ้ากินแล้วแล่นหนี หรือว่าอินทรีย์เชื้อสักกุโณนกใหญ่ในป่าบินว่าแล้วเอา หรือว่าผีเหวห้ายในดิงกองก่อย สม่อยด้าวสุยเจ้าป่วงไป เป็นประการใดแท้ทั้งสองสูญคาบ อันว่าฮอยผ่านพื้นแผวเผื่อนเป่าแปน หรือว่าฝูงสัตว์ฮ้ายฃลทาในท่า มาคาบเจ้าลงน้ำจุ่มวังอันในสะพังบ่มีทางดึงแก่ แม่ก็เลาะเลียบแล้วฮอยเจ้าบ่มี คันหากตายจริงแท้บ่มีสูญเสียคาบกระดูก เลือดเนื้อซิค้างแผ่นดิน อันนี้ตั้งหากสูญเสียธรรมดาดูแปลก ศกซากเข้าเหลือไว้ก็บ่มี อันว่านางมะทีให้หิวคอยคอยดอมลูก จิตหล่าหล่งหลงบ้านบ่บาน นางคาญเจ้ามืนทึนเทียวเถื่อน นางก็เลื่อนๆน้ำตาให้ฮุ่งหาสังมาเสียดายเจ้าสองใจจอมใจจาก ขอให้เอาแม่เมี้ยนตายซ้ำล่วงใจ แม่นี้จักอยู่ได้ลำบากทรงทุกข์ ขอให้เทวดาดลพ่ำมวนมรณาเมี้ยน อย่าให้คองชีวาไว้เททรวงทนยาก คันบ่เห็นอ่อนน้อยขอข้ามอดชีวังแดท่อน แม่นี้หวังเพิ่งเจ้าจอมเกศเสน่หา ลูกซ่างไลมารดาอยุ่ดงดอนไม้ ไผซิมาเฮือนข้าวกินนมนอนแนบเคี้ยวเข่าป้อนเดินเล่นแอ่วนม แม่นอ ไผซิหาผืนผ้ามาปุแขนอู่ กวยแจ่มเจ้าวีอยู่ให้อยู่เย็น ฝูงหมู่ยูงยองอินตอมตัวไผซิไล่ ทั้งหมากไม้ไผซิป้อนก่อนนอน กัณหาแก้วชาลีหนีจาก เจ้าหากพรากแม่ไว้ไปค้างหว่างใด หรือว่าพากันให้ดับขันธ์ไล่แม่ ไปเกิดก้ำสวรรค์ฟ้าบ่คอยแม่นอ นับแต่แม่หอดให้คณิงลูกโลมขวัญ คือดั่งตัวตายไปส่วงเวรคราวแค้น พระกายาเยื้อนเสโททวงอาบ คึดลูกน้อยกอยกั้นเกลื่อนกะหาย ยุติกัณฑ์มัทรีไว้ก่อนคุณโยมเอย... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 9 มัทรี, ผูกที่ 3.)





























10. กัณฑ์ สักบรรพ์
เมื่อนั้นพระก็ทานทอดแก้วมะทีให้แก่พราหมณ์ มะโนใสแจ้งจริงตั้งเที่ยง บ่อ่าวหมองเศร้าท่อธุรี อันว่านางมะทีเจ้าบรรเทาหายโศกชมชื่นน้อมนำเจ้าเผ่าผัว บ่ได้บิดเบือนเลี้ยวขีนขัดขวาง นางนารถเจ้าเห็นด้วยหน่อธรรม ใจนางหมั่นยินดีชมชื่น บ่ลื่นเจ้าผัวแก้วยอดธรรม คึดใค่อุดหนุนเจ้าทำทานทางประโยชน์ นางก็บ่โกรธแค้นดอนเจ้าหน่อโพธิ์ สามีสร้างโพธิญาณเห็นชอบ นางก็นอบนิ้วทูลเท้าอุ่นใจ แต่นั้นเลยเล่าฮ้อนเท่าเถิงสวรรค์ ธรณีไหวแผ่นดินดังสะท้าน เมืองแมนม่างจาตุมเทวโลก พื้นหลังเหลียงเขาค่านโค่นคอน แม่นว่าอุดรกว้างแดนไกลสุดทวีป เสียงสั่นก้องแผ่วเผื่อนแฮ่งแฮง มีทั้งน้ำยวกยู่เปวปั่นทะเลหลวงพระพายพรมพัดคื่นเค็งควันกุ่ม เหมือนดั่งทานสองน้อยกุมมารคราวก่อน อำนาจกล้าเป็นด้วยเดชคุณ เมื่อนั้นอินทิราชเจ้าเห็นนางชมชื่น บ่ตื่นเต้นเฮฮ้อนห่อใด อันว่าอินทะราชพราหมณ์ไท่ดีพระทัยชอบ ควรที่ก็มอบเหงาพระนางส่งคืน ค่อมฮ่ำแล้วพระอินทะราชพราหมณ์ไพร เตโชก็เปลี่ยนกายเป็นท้าว แล้วจึงผายพะยองขึ้นเมือบนอากาศ อำนาจกล้าฤทธีเข่มเป่งแสง รัสมีเหลี่ยมหิมะพานเฮืองผ่อง แล้วจึงลงสู่เจ้าจาระห้อยอ่อนหวาน เทื่อนี้มหาทานเจ้าจอมธรรมสมประโยชน์ จริงแล่ว ข้านี้ลุกแต่ห้องสวรรค์ฟ้าล่วงลง พระเอย บ่แม่นดยดสเชื้อพราหมณ์ณาจรป่าสังแล่ว ข้าหากแม่นเผ่าเชื้อพระอินทร์เจ้าล่วงลง ในวันวานนี้ปะถะพีไหวหวั่น เสียงสนั่นเท่าเมืองฟ้าทั่วแดน ข้าหลิงโลกกว้างเห็นเอกองค์กษัตริย์ มานกุมมารแก่พราหมณ์พลอยบ้าน ยามเมื่อไปภายหน้าคนซิมาขอเล่า เอาแจ่มเจ้ามะทีเหง่าให้องค์บ่อย่าแล่ว พระผู้ทรงธรรมสร้างในทางอุเปกข์วิเวกไวไลเจ้าพ่ำพลอย ก็จักกอยใจดั้นหามันผลหมาก ทุกข์ยากฮ้อนโอมเจ้าบ่ควร ข้าจึงคึดก่อเกื้อการเพิ่มโพธิญาณก็จึงแปลงเป็นพราหมณ์จิ่มจนจำใกล้ เพื่อจักขอเอาแก้วกัลยานางนารถ คันว่าพระบาทเจ้าทานแล้วสิส่งคืน บัดนี้จอมเจียงเจ้าทอดมะเหษีให้เป็นของตาชีแก่พราหมณ์ไปแล้ว คราวนี้ข้าขอคืนดวงแก้วมะทีถวายราชให้แก่พระบาทเจ้าบุญกว้างหน่อโพธิ์ ซึ่งสามีดกแก้วเคยครองหลายชาติ ขอให้รับนารถน้องไว้ดั่งเดิมพระเอย การประสงค์จอมเจ้าโพธิญาณดวงยอด เพียรพ่ำสร้างเต็มพื้นแผนไตร 4 อสงไขสร้างแสนกัลป์การประเสริฐ ปัจฉิมชาติถ่วนเถิงแล้วบ่คา ชาติสิมาภายหน้าองค์พุทโธตัดเกศจริงแหล่วโพดสัตว์ในโลกนี้นะทีกว้างขี่ขอน อุดมด้วยสะเภาทองเทียมท่า เถิ่งฝั่งห้องนิพพานกว้างอยู่เย็น บัดนี้ข้าจักต้านสั่งเจ้าจอมประเสริฐชีไพรไว้เนอ แม่นว่าไผมาขอหน่อจอมใจกว้าง อย่าได้ทานนางน้องสองทีให้จำจาก จงให้นางอยู่อุปฐากเจ้าเนาว์ห้องเพื่อนสอง ประคองหาเลี้ยงเพียรกันยามยากพากันพรากพี่น้องพงษ์เชื้อก็บ่มี ยามเมื่อเจ็บป่วยไข้กลางไพรไผสิเบิ่งกันนอ มีแต่สองพี่น้องยามยุ่งให้เพิ่งกัน...เด้อ บัดนี้ข้าจักอำนวยให้พรธรรมทั้ง 8 ตั้งหากสมประโยชน์แท้พระองค์เจ้าเลือกเอานั่นท่อน แม่นประสงค์ใดได้ตามใจภูวนารถ ในแปดข้อขอเจ้าว่ามา เมื่อโพธิสัตว์เจ้ายินสงวนซอยซื่น ก็จึงต้านต่อเจ้าพระอินทร์ฟ้าค่องความ เทื่อนี้ข้าจักจงใจน้อมเอาพรเทวราชทั้งแปดข้อประสงค์แล้วเลือกหา อันว่าพรที่เป็นปฐมล้ำคำควรสามารถ ขอให้พระบาทเจ้าคืนเข้าสู่นครกับทั้งบังอรมะทีนางทั้งลูก ขอให้ปู่ย่าเจ้าได้เห็นพร้อมเรื่องทาน กับทั้งบริวารพร้อมชาวเมืองทั้งประเทศ เชิญพระเวสตร์เจ้าให้คืนผ่านนคร พรข้อสองนั้น คันได้คืนครองนครไชยตุ้มไพร่ ฝู่หมู่คนใจบาปใบ้โจรฮ้ายฮ่วมมา แม่นว่าโทษเถิงจักฟันคอฆ่าดับสูญสิ้นชีพ ข้อขอคึดซอนเกื้อเห็นเบื้องผ่อนเบา ขอให้มีทางแก้การตายพ้นโทษ ผายโผดให้เขาได้อยู่เย็น อันนี้เป็นพรแก้วทั้งสองอันประเสริฐ อันหนึ่งข้าขอจงใจน้อมกูนานำฮีตฝูงหมู่พสกไพร่น้อยทั้งค่ายให้อยู่เย็น ทุกที่พร้อมพวกแก่กลางคน หญิงชายชาวสีพีหนุ่มเยาว์ยังน้อย ปนกันไว้สามวันพร้อมผ่ำ ขอให้สุขอยุ่ด้วบุญข้าเหลียมมุง ขอให้ทุกเทสท้าวพร้อมเพิ่งคำสอน ยินดีดอมฮ่อเอาทั้งค่าน ความสบายใจกายหายโศก อันแต่ใต้โลกกว้างภูมิพื้นอยู่เย็น อันนี้เป็นพระพรธรรมแท้ที่สามเสริมส่งขอด่วนได้โดยด้ามคณิง อันหนึ่งขอข้าได้อ่อนน้อมครองแห่ง 10 ประการ อย่าได้โกรธาแข็งคอนเมียเจ้า ชื่อว่าเมียเขาแล้วขอไกลจำจาก พัดพรากฮ้างฮามหน้าบ่คอย ขอให้กอยใจเลี้ยงเมียตามตามอีต ฮักห่อหุ่มใจเลี้ยวอย่ามี...ยุติปั้นสักบรรพ์ไว้ก่อน...คุณโยมเอย... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 10 สักกบรรพ, ผูกที่ 2.)





























11. กัณฑ์ มหาราช
เมื่อนั้นพิเศษเจ้าจอมราชสูญไชย พระยินดีดอมบ่เคืองพระทัยแค้นของนิดหน่อยพระองค์เฮาเห็นฮูป ยังบ่สมค่าเจ้าซิแถมซ้ำตื่มพราหมณ์ รางวัลมณเฑียรผาสาท 7 ส่วนชั้นทั้งหลายห้องฮูปงาม ให้แก่พราหมณ์เม่าชุยซะโความฃอบ นำมอบเฒ่าเดี๋ยวนี้อย่านาน ค่อมว่าพระสั่งฝูงหมู่เสนา พากันไปเบิกพระคลังคำล้านขนของขึ้นโองพราหมณ์ฝาสาท ฝูงหมู่ช้างและม้ามวลพร้อมเร่งเร็ว กับทั้งอาหารเลี้ยงพราหมณ์ตามบริโภค ขนมถั่วแป้งน้ำตาลก้อนก่อมงา มีมาถ้วนหวานคาวร้อยแปดเป็ดไก้ต้มหมูมาย่างอย่างดี มีทั้งสุราเหล้าดองดีต้มกลั่นมาหั่นเหล้ากินแกล้มก่อมหมู มีทั้งซาซู่ล้มยวลมามอบ สัพพะสิ่งเข้าของล้นค่าคาม ฝูงงัวควายม้าอาชาไนย์ช้างเครื่อง ให้แก่เจ้าพราหมณ์เฒ่าคู่อัน เขาก็ยอพาเข้าขนมมาคอนหาบ ลาบและก้อยทั้งปิ้งจี่จืน มีทั้งพาหวานพร้อมคาวเดียระดาษ พราหมณ์ซากพ้อออเฒ่าชื่นชม มันก็ยอยังแก้สุราดูดดื่ม ลาบเลือดล้าหลายถ้วนเถื่อนมา สังขะย่าล้นหมูมันแกงไก่ เ ฒ่าบาปใบ้หลงพ้อบ่พอ มันก้เห็นของล้นโลโภบริโภค มารั่นเหล้าเมาแล้วยิ่งกิน เต็มพุงไส้คุงคอท้องไค่ ไฟธาตุไหม้เผาย่อยบ่ทัน พอคราวน้อยพุงพราหมณ์เลยแตก มันก็เมี่ยนชาติซ้ำเมือหม้อแผ่นแดง เขาก็เมือทูลไหว้สัญไชยภูวนารถ พระมิอาจให้ตีฆ้องรองป่าวหา ฝูงหมู่ญาติกาเชื้อพงืองคืพราหมณ์มระณาด ไผผู้เป้นชาติเชื้อพราหมณ์เถ่าเหล่ากอ มรดกได้ตามกระบิลเครือญาติ อย่าได้ช้าสามมื้อใหยื่นมือมาเอาเข่าของพราหมณ์ตายจาก ตั้งหากหลายลพ่ำมือตีฆ้องหาก็บ่เห็นไผมาไขข้อพงษ์คณาญาติ พราหมณ์แล่ว เลยบ่มีพี่น้องตายถิ่มสิ่งของเจ้าเอย อันว่าสมบัติชุยซะโกนับโกฏิ เลยเล่าว่ากลับด่าวปิ้นคืนเข้าสู่พระคลังอันนี้ชื่อว่าบุญมีบ่เถิงหาได้ความจนประจำอยุ่จริงนอ แมนวิลุโชคได้แสนช้างด็บ่ครองได้แล่ว เมื่อนั้นองค์กัตริย์ไท่สูญไชยตนปู คันว่าถอนไถ่เจ้าหลานน้อยหน่ออินทร์ พระก็ฮักสองราชโฮมขวัญ ผุสดีนางย่าแยงยอแก้ว องค์หลานน้อยสองตาเสมอเนตร เจ้าจากบ้านไกลหน้าพ่ำนาน บัดนี้ย่าเกี่ยวก้ำปางก่อนภายหลัง หลานกูไกลพรากเมืองฮามบ้าน เยียวว่าสองหลานน้อยมรณาจมจาก ย่าฮอกให้หาเจ้าสู่วัน บัดนี้วิบากเบื้องหายขาดสูญเสียแล่นอ สองหลานฮักต่าวมาเห็นหน้า กัณหาแก้วเสมอตาตนย่ากูเอย เจ้าหากยังหนุ่มน้อยเขินข้างแม่มา อดนมให้พราหมณ์จูงจำจาก วิบากเจ้าแสนชิ้นอีดู แม่เด.... เมื่อนั้นสญไชยอุ้มชาลีหลานราช ย่าแอ่วอุ้มหลานน้อยนั่งเพลา กัณหาเจ้ากุมมารนางนารถเมือสู่ผาสารทแก้วปรางค์กว้างแห่งพระองค์ ฝูงหมู่นางสนมนางแน่นโยสาสหะชาติตามพระบาทเจ้าพะลานกว้างดั่งคน คื่นๆ เค้าคับดั่วสนามหลวงพุ่นเยอ หญิงชายชาวเวียงไชยทั่วแดนดาเต้าเขาก็ยินดีด้วยกุมารทั้งคู่ คืนสู่นครกว้างดั่งเดิม เมื่อนั้นพระปู้เจ้าจอมโลกลือชา จักใค่บาศรีหลานหน่ออินทร์องค์ล้ำ กับทั้งผุสดีเจ้านางสนมนับหมื่น ฝูงหมู่เสเนตรน้อยหลายท่านนั่งเมือง ใบศรีตั้งพานทองเทิงแท่น เทียนใหญ่ได้พัดเล่มฮุ้งเฮือง มีทั้งมาลาห้อยหัวบัวหลวงหลายหลาก ประดับซ่อนิลบ้างแบ่งเขียว ใบศรีพระมณเฑียรเทิงอาสน์ ฝูงหมู่อำมาตร์เจ้าเฒ่าบ่าวสาว เขาก็มวลมาเต้าบาสีสมโภชน์ชมชื่นด้วยหลานเจ้าเจียจอม แม่แหล่ว หมอโหรเฒ่าได้หายามไชโชคได้ฤกษ์แล้วสองน้องนั่งใน พาขวัญตั้งปรางค์ทองเทวราช ฝูงหมู่นักปราชน์เจ้าพรแก้วอ่านถวาย บัดนี้ขอให้หลานแจ่มเจ้าจอมเทศกนิษฐา เทียระคาคงอยู่ยาวหมั่นเถิง 5 พันปีได้ครองเมืองเสวยราช ฝูงหมู่โพยพยาธิฮ้ายอย่ามาใกล้เบียดเบียนเบียฬแด่ท่อน ขอให้หลานองค์ภูเบศน์จอมกษัตริย์ อย่าได้ตกพลอยพลัดดั่งปางเป็นแล้ว ขอให้หลานแก้วครองนครตุ้มไพร ขวัญเจ้าไปอยู่ค่างดงไม้ให้ต่าวมาแด่ท่อน ให้หลานสร้างย่านฟ้าลือโลกมหาจักร สมภารเพ็งทั่วแดนดังสะท้าน อันแต่จักรวาฬบ้ำบือชาเซ็งเดช ทุกเทศท้าวแดนห่อส่วยสินแดแม้ ขอให้หลานเจียงเจ้าจอมราชเทโว เตโชแข็งข่มมารชมพูพื้นธรณีนำส่วย ยู่ทางเจ้าก่อสร้างศิลสร้อยชอบคลอง ขอให้สองหลานแก้วกุมารทั้งคู่ สืบปู่เจ้าแทนเชื้อเผ่าพงศ์ อันแต่กงทะรังฟื้นปะเชไชยนัคคเรศ ขออย่ามีเหตุฮ้อนทั้งค่ายอยู่เย็น แด่ท่อน ขอให้ผ่านท้าวฤทธิ์เดชลือชา นาโถเถิงยอดญานดวงแก้ว สวัสดีนอบในนครตุ้มไพร้มนุษย์ใต้ลุ่มฟ้าเท่าทั่วแดน ฝูงหมู่พวกไพร่น้อยพร้อมเพิ่งปาระมี หญิง-ฃายในชมพูข่าวขามขอไหว้เงินคำแก้วไหลมาอย่าได้ขาด ขอให้หลายมหาราชเจ้าบุญกว้างอยู่เย็นแด่ท่อน อันหนึ่งขวัญสองน้อยตกพลอยกลางป่า .... ยุติปั้นกัณฑ์มหาไว้ก่อน คุณโยมเอย... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 11 มหาราช, ผูกที่ 3.)





























12. กัณฑ์ ฉกษัตริย์
เมื่อนั้น คันหากจาตามเฒ่าปูฮานคราวปู่ แปดอสุภลาดนับได้ 14 เส้นว่ามา อันว่าราชาเจ้าประทวนพลยัวระยาด ฟื้นหลั่งเลี่ยมเข้าค้านโค่นคอน ไม้หนุ่มดั้วเดียระดาษดงในหลวงในคีรีเค็งคุงฟ้า อันว่าชาลีเจ้าคุมพลไปก่อน ฝูงหมูไทยเทศท้าวแสนช่างคั่งถนน คะเคลื่อนย่ามเมื่องายงาม สุริโยยวงแสงสูญแจ้งพระพายภูมิฟื้นผงธุรีมัวมืด ละอองไง่กั้วมัวฝ้าตะการ พอเห็นยาบๆ ย้ายกองโกฏิ์พลทหารพุ่นเยอ ธนูสร แสงดาบดีดวงกล้า เสนาช้างแสนสุขแข็งเดชกับทั้งม้าเทศผู้แสนดื้อตัวตง ฝูงหมู่กงจักรแก้วเกรียนทองรถราชโผนผาดห้าวแสนท้าวหมื่นเมือง แม่นจักไปตีม้างนครคนพื้นโลกเฮานี้ เหมือนดังหักกิ่งไม้แหนงน้อยนุ่มกระจวนแท่แล่ว เพราะว่าเตโชกล้ากลัวเกรงอำนาจ ขามเดชเจ้าทั้งหลายทั่งค่ายทั่วแดน ตั้งหากแสนสนุกล้นชายหญิงสาวบ่าวบ่ออ่าวเอื้อลืมบ้านชื่นบาน ถนนหลวงกว้างแปนปานหน้าแว่นสองดาบข้างมีไม้ตะข่ายตี แล้วแต่ตั้งพาโภชน์คาวหวานอาหารคาวคู่อันมีไว้ ประสงค์ใดได้เหลือตาตั้งลด ก็บ่เขินขาดข่อนสังแท้ท่อใย ฝูงหมู่สุราเหล่าไหไพเทียงพ่างสับหว่างไว้สองข้างถนน สัพพะดลการเล่นเสียงซอแก้มซุ่ย พิณติ่งต้อยแตรระห่อยเป่าสังข์ ฟังเสียงแตรรวย้ายยามแลงล้านคู่พุ่นเยอ เสียงปี่แก้วชะในโอ้อ่มข่าน ฝูงหมู่ช้างใหญ่ย่ายงาเฮื่อโดยดาว พายสารประดับแย่งคำควรย้อง ฝูงหมู่คนเดินเท้าเกาะกันย้ายย่าง สาวบ่าวค้านคำระห่อยต่อกัน เทื่อนี้บุญเจียงเจ้าจอมโลกนาโถโพธิญาณหอมห่อธรรมกอยเกื้อ จึงได้มาเห็นน้องบุญตาตนพี่ดูดั่วแก้สอยู่ในน้ำในฟื้นพรากมือแลนอขอให้น้องก่งเกื้อเยื้อนโผดปราณีพี่ท่อน คันหากยามนางกลับต่าวคืนอย่าลืมอ้าย คันหากเทียวทางพ้อเห็นกันให้ถามข่าว ขอให้น้องอ้าวเอื้อไขข้อขอดพระมัย อย่าได้ไลลืมถามกันให้น้องปาก คันว่าพรากป่าไม้เมือบ้านซิยอวยามน้องแล่ว เมื่อนั้นสาวตอบต้านแก้เงื่อนชมสงวน ชื่นบูฮานเฮียงห่อนซิขีนขวางได้ คราวนี้เดินไพรกว้างเห็นกันกลางป่า มาพบหน้ากายใกล้ก็จึงจาพี่เอย ยามเมื่อกลับด้าวคืนสู่นครหลวง ฝูงหมู่นางในวังหมื่นกือกองล้น คนเสมอเหมือนน้องซิคองดายแล้วเป่า พระพี่เจ้าบ่มีเอื้ออ่าวคณิงแท้แล่ว คันว่าพระพี่เจ้าเยื่อนโผดกูณา ปราณีผายอีดูเอาเลี้ยง เป็นเมียน้อยกินกอยจนยากก็ดีแล่ว น้องบ่มีปากต้านการยุ่งซิค่อยเพียรพี่เอย สาวกล่าวแล้วย่ายย่างมรคา หญิงชายชาวนิคมเกี้ยวกันเชิงชู้ อันว่าภูมีเจ้าประทานพลเพ็งโลกหิมะเวสด้าวแดนเผื่อนเกื่อนกอง คันถึงวันสอดไม้เอี้ยงอ่วยสุญแสง ฝูงหมู่โยธาทัพหมื่นเมืองมวลพร้อม ปะลำล้อมตองเตยตูบ เขาก็ลดเครื่องช้างอานม้าเกวียน เลียนเป็นชั้นวางกระบวนหมายหมู่ ภูวนารถเจ้าหลานน้อยนั่งเฮียง ขึ้นสู่ห้องตำหนัก ป่าเขาขวาง โคมไฟดั่งดาวเต็มด้าว ลครโขนเล่นพันเชิงล้านเรื่อง เสียงสนั่นก้องดังกว้างหวั่นไหว ฟังยินเสียงแคนได้มะโหรีแกมปี่ พิณพาทย์ฆ้องกองเกี้ยวก่อมไพร เขาหากชวนกันเล่นกองยาวยามค่ำ พวกผู้บ่าวส่ำน้อยโอยโอ้อ่านสาร สาวขานแก้เพ็งชายแก้เงี่ยน พวกขี่เหล่ามาแล้วแห้โฮคื่นๆ เค้าคับช่วงหิมะพาน โคมไฟเฮืองทั่วทั้งดงดูแจ้ง เหมือนดั่งกลางวันแท้เฮืองสีแสด หิมะเสกว้างพลเจ้าคั่งคาม ตังหากแสนสนุหลุ้นดาววะดึงโดยเปรียบเทียบกันแล้ว สวรรค์โลกแท้ปู้ฮานเฮี้ยงเซ่าเซง ฝูงหมู่โยธาท้าวทั้งแดนลืมลูก เมียอยู่บ้านไลหล่อนหล่าหลง ผัวเมียม้างคำพะไมฮามฮูป สนุกม่วนแม่งลทมเอื้ออ่าวกัน ยามนั้นสญไชยเจ้าพาพลเดินเถื่อนหอมดอกไม้เมื่อยามแล้ง ฮุ่งค่ำเข้าเทียวท่องเดินดง หลิงสาขางามเงาเงื่อม สาขาต้นแสนกอกางทีป สัพพะดอกไม้บานบ้างแค่ทาง สองสีหอมสะเทือนในเถื่อน เดือน 4 ค่อยระดูฮ้อนฮ่วมมา ฟังยินผ่างๆ ฟ้าห้องฮ่วมยามแลงพุ่นเยอ วาโยพัดป่าดอยดงกว้างฝูงหมู่พลหลวงเจ้านครทองเที่ยวเทศ เขาก็ชื่นชมด้วยดอมเจ้าหน่อโพธิ์ ฮูงค่ำเช้าพร้อมพ่ำเพียรเดิน ฝูงขุนเขาได้ค่อยเห็นหน้า เหตุว่าองค์กษัตริย์เจ้าทรงธรรมเพียงเพศ พระยาเวสตร์สร้างศิลล้านเจื่องจอม ขอให้พระหย่ำเกล้าคืนสู่นครขวงฝูงหมู่ขาวนิคมซิอยู่เย็นบ่มีฮ้อน เพราะว่าปาระมีเจ้าจอมธรรมซิตุ้มห่อ ฝูงหมู่คนขะมอดแค้นซิขอได้ดั่งประสงค์แท่แล้ว นับแต่ออกจากห้องกรุงใหญาปะเชไชย นานถึงดกือนดุ่งเทียวทางฮ้อน ก็จึงถึงดงกว้างหิมะพานไมยะมาส เดียรดาษไม้สูงดั่วง่างาม ชะพู้พร้อมแซงสาขี แลเห็นบัพพะโตคอยใหญ่สูงแฝงฟ้า ฟังยินวาโยเมโฆก้องเกื่อน พุ่นเยอ พัดเมฆขึ้นคือม้าหมู่หอม อันว่าจอมดอยกว้างขันเป่าปก กะหาค่อซุ่มขันค่อยเคี่ยนคอน ยุตติไว้ฟังไปกัณฑ์ใหม่.... คุณโยมเอย.... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์, ผูกที่ 3.)



























13. กัณฑ์ นครกัณฑ์
เมื่อนั้นพราหมณ์ก็พาแจ่มเจ้าสององค์กษัตริย์ เขียวคืนลัดป่าดอยดงไม้ตั้งหากหลายวันได้อดนมนอนป่า 15 ขวบมื้อพราหมณ์เฒ่าบ่เซา เลยล่วงเท้าเมืองปู่นครหลวง สญไชยโยสิยังเพียงหน้า คันว่าเห็นหลานแก้สสองใจจวนจาก พรากแม้เจ้าพราหมณ์เฒ่าคั่วมา ปู่ย่าเจ้าฮู้จึงถามเถิง ปิตาตีค่าคามหลานแก้ว ภูมีแจ้งคำจริงฮู้เหตุ ก็จึงถอนไถ่เจ้าหลานน้อยหน่ออินทร์ แล้วจึงเดินไพร่ฟ้าเจ็ดขบวนราตรีพาไพร่พลเดินด้วยเดือนเดียวกับสามวันเข้าเขตถึงพระยาเวสตร์กว้างเขากว้างข่วงอินทร์ แล้วจึงพาไพร่พลเต้ามวลเข้าสถานนานเถิงเดือน จึงพรากไพรพงด้าว คืนหาห้องสองเดือนเดินป่า ก็จึงเถิงแห้งห้องกรุงกว้างจิ่มนคร เจ้าเอยนับแต่โพธิสัตว์เจ้าพลอยเมืองพรากไพร่ นับอ่านได้เจ็ดเดือนโดยฮ่วมมานี่ สิบห้ามื้อปลายเขาตวัน พระยาเวสเจ้าคืนฮอดนคร พอเห็นเดื่อนๆ ย้ายพลพวกธนูหารพุ่นเยอ เถิงนาเพียงชั่วตาเต็มเปี่ยม แลเห็นห้องประเชไชยนครราช หมอกมืดกุ้มตาลพร้าวล่วงลม แลเห็นมาบๆเหลี่ยมพระธาตุเจดีย์ใหญ่มณเฑียรทองซิฮุ่งสีแสงแก้ว เป็นปรางค์กว้างวิไชยยนต์เทียมราช ยอดช่อฟ้ามะณีล้วนลูกดาว สูงพุ่งพ้นนิเวสน์วังหลวง อุดมโดยดาวดึงษ์ฟ้า ยามนั้นทุกกษัตริย์เจ้าประทวนพลเข้าเขต พระเวสเจ้าทั้งเหง่ามิ่งมะที แลเห็นน้องนครทองทวีป น้ำพระเนตรย้อยคณิงเอื้ออ้าวหลัง คิดเมื่อวิบากเบื้องพลอยพรากนครหลวง พงษาสูญยากจนจรฮ้าย ก็จึงพากันอุ้มเอาองค์บุตรราช ไปอยู่สร้างเขากว้างป่าไพร ไกลเมืองบ้านหากกอยมันเผือก กินหมากไม้ต่างข้าวอยู่เขา จึงได้ทานสองเจ้ายามจนจำจาก เพราะว่าทุกข์ยากแค้นเงินเบี้ยบ่มี... บัดนี้กรรมสูญเสี่ยงคืนมาเมืองเก่า กับทั้สองอ่อนเจ้าเห็นหน้าต่าวมา พร้อมว่าพระฮ่ำแล้วสิแลหล่ำปัตถะพี ฝูงหมู่ชาวเมืองมามืดมัวเต็มพื้น อุกขะลุกล้นธระธีคับคั่ง พื้นละลั่งเหลี่ยมแสนตื้อต่างชุม เขาก็อัญชลีก้มเกศรีสมโพชน์ชมชื่นด้วยดอมหน่อเจ้าโพธิ์ มุกถ้วนหน้าพวกไพร่คนจน เขาก็ยินดีดอมไดอยพระองค์เจ้า บัดนี้จอมบุญกว้างคืนเมืองมาฮอด ฝูงหมู่คนขมอดแค้นสิขอไดด้ดั่งประสงค์แท้แล่ว เมื่อนั้นหากกษัตริย์เจ้าประทวนพลเพ็งเดช เสด็จยาดย้ายถึงเท่าที่ทวาร อันว่าเครื่องเค้าพลายเผือกไอยะกา นาเคนทร์ถึวราชวังปรางค์แก้ว...เมื่อนั้นโพธิญานย้ายเมืองปรางค์ปราสาท กับทั้งนระนาทน้องนางเหง่ามิ่งมะที ชาลีเจ้ากัณหาแม่ย่าปิตุราชพร้อมเพียวหน้าชื่นบาน ทรงแท่นแก้วแย้มโอษฐ์ขานไข พระทัยทรงทุกข์ส่วงวอนเวรฮ้าย หกกษัตริย์เจ้าเฮืองฮมฮักปูก มะโนแบ่งเบื้อยามยุ่งเบา อันว่าพระแม่เจ้าองค์เอกผุสดี พระพันปีหลวงชื่นชมหายฮ้อน ยินดีด้วยใจจริงดอมลูกพร้อมพ่ำถ่วนเถิงแล้วอยู่เย็น... เมื่อนั้นโพธิ์สัตว์เจ้าจอมบุญพระยาเวส ไค่คอยคึดคณิงห้องแห่งทานอันว่าสางหลวงล้นมีมูลคราวก่อน บัดนี้เขินขาดแห้งพระคลังกว้างเป่าแปน แม่นว่าคนในพื้นปัตถะพีพร้อมเพิ่งกูแล่ว ฝูงหมู่ไพร่ฟ้าประชาราชแดนดิน คนเคยขอสิหลั่งมาภายหน้า คราวนี้กูจนแท้คืนครองเสวยราช บ่มีโอกาสให้ทานดั่งประสงค์แล้ว ค่อมว่าพระฮ่ำฮอดอินทรา เทิงทะลังแท่นแห่งพระอินทร์อายฮ้อน...เมื่อนั้นสักโกเจ้าอัมรินทร์หลิงโลก ก็จึงฮู้เหตุเบื้องพระองค์หน่อโพธิ์ อันว่าสักโกเจ้าเมืองแมนชมชื่น ก็จึงผายโผดให้ฝนแก้วหลั่งลง เจ็ดประการแก้วพลอยแพงลูกประเสริฐ ไหลหลั่งล้นนครกว้างคั่งคาม มีทั้งเงินทองแก้วไพฑูรย์มณีโชติ ประทานพ่ำพร้อมวิเชียรเชื้อลูกดี มีทั้งมุขดาแก้วเมืองแมน้นหลั่งคับคั่งทั่วนครกว้างทั่วแดน อันแต่ในกรุงกว้างพอเพียงหัวเข่า ตั้งแต่แก้ค่ำเข่มผ่องเงินเจ้าเอย อันว่าในภูมิพื้นบริเวณปราสาท เดียระดาษล้นกองแก้วฮอดสะเอวแท้แล่ว...เมื่อนั้นองค์กษัตริย์ไท่สญไชภูวนารถ อนุญาติให้เขาเมี้ยนมอบการ อันแต่ใจจวนบ้านของไผผลประโยชน์ ให้เป็นผู้ขนไว้ให้ชอบใจ คันว่าเขตบ้านเป็นส่วนของหลวง ทั้งปงสูใหจื่จำเอาไว้...เมื่อนั้นฝูงหมู่ชาวเมืองพร้อมยินดีชมชื่น เขาตื่เต้นเห็นแก้วผ่องเงินกับทั้งคำแดงเข่มเหลือตาเต็มโลก เขาก็พร้อมพ่ำเมี้ยนขนขึ้นใส่เยีย เต็มหลายยุ้งเหลือดินเดียระดาษ เขาก็ขนใส่ห้องเฮือนย่าวก็เล่าเต็ม บางผ่องหาหีบไหไพอุอ่าง กระสอบป่านปุ้งกระบุงเช่าต่ากระทอ ก็มีหมดเสี่ยงคำเงินคำแก้วประเสริฐ ขฃเขาก็กองกวดไว้ขนขึ้นดั่งโพน...เมื่อนั้นจอมกษัตริย์ไท่สัญไชยภูวนารถ รับสังให้ขุนแก้วแก่เกวียน เงินคำล้นถนนหลวงทุกแห่ง...คุณโยมเอย สาธุ สาธุ สาธุ............... (“มหาเวสสันดร.” กลอนอีสาน ชาดกเดิม กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์, ผูกที่ 4.)
























บทที่ 2
มหาเวสสันดร (เนื้อความโดยย่อ)

1. กัณฑ์ทศพร
อดีตกาลโพ้น ก่อนสมัยพุทธกาลนานหลายกัป กล่าวถึงพระเจ้ากรุงสญชัย พระโอรสพระเจ้าสีวีราชแห่งกรุงสีพี ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนามผุสดี ผู้ซึ่งทรงได้รับพระ 10 ประการหรือทศพร จากพระอินทร์ เทพผู้เป็นใหญ่ด้วยมูลเหตุ ดังนี้
พระนางผุสดีเมื่อสิ้นพระชาติที่ทรงกำเนิดเป็นพระนางสุธรรมา และด้วยพระบารมีแก่กล้า พระนางเสด็จสู่สวรรค์อุบัติเป็นเทพธิดาผุสดี เป็นพระอัครมเหสีแห่งพระอินทรเทพ ครั้นถึงคราต้องทรงจุติจากสวรรค์ พระอินทร์เทพประทานพร 10 ประการให้ตามที่พระนางมีพระประสงค์ดังนี้

1. ได้บังเกิดในปราสาทแห่งพระเจ้ากรุงสีพี
2. มีพระเนตรดำขลับประดุจตาลูกเนื้อทราย
3. พระขนงดำสนิท
4. ทรงพระนามว่า ผุสดี
5. มีพระโอรสทรงพระเกียรติยศยิ่งกษัตริย์ทั้งปวง และมีพระศรัทธาในพระกุศลทั้งปวง
6. เมื่อทรงพระครรภ์ อย่าให้พระครรภ์โย้นูนดังสตรีมีครรภ์ทั่วไป
7. พระถันงาม เวลาทรงพระครรภ์ก็มิดำและหย่อนคล้อยแม้กาลเวลาล่วงไป
8. พระเกศาดำสนิทประดุจสีปีกแมลงค่อมทอง
9. พระฉวีละเอียดงามเป็นนวละออง ดังทองคำธรรมชาติปราศจากราคี
10. ขอให้ทรงบารมี ทรงอำนาจไว้ชีวิตกับนักโทษประหารได้
มิใช่เพียงพร 10 ประการเท่านั้น ที่หนุนเนื่องให้พระนางผุสดีได้เป็นพระพุทธมารดาในชาติกาลต่อมา ครั้งอดีตชาติ พระนางเคยเฝ้าถวายแก่นจันทร์แดงเป้นพุทธบูชาแก่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทรงอธิษฐาน ตั้งปรารถนาให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคตชาติด้วย




2. กัณฑ์หิมพานต์
เทพธิดา “ผุสดี” พระอัครมเหสีแห่งพระอินทรเทพ ทรงจุติจากสวรรค์ลงมาถือกำเนิดเป็นพระธิดา
กษัตริย์มัททราชมีพระนาม “ผุสดี” ดังทศพรประการที่ 4 ที่ทรงขอไว้ ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งกรุงสีพี เมื่อมีพระโอรสนามว่า “เวสสันดร” ด้วยทรงประสูติในตรอกพ่อค้า ก็ทรงได้สมประปรารถนาในทศพรประการที่ 5 ด้วยพระกุมารเวสสันดรนั้น ทันทีที่ประสูติจากพระครรภ์ ก็ทรงทูลขอทรัพย์บริจาคทันที และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ก็ทรงสร้างทานศาลาขึ้น 6 แห่ง สำหรับบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้โดยถ้วนหน้า
ในวันที่พระเวสสันดรประสูตินั้น ทรงได้ช้างเผือกขาวบริสุทธิ์ ที่แม่ช้างชาติฉัททันต์นำมาถวายไว้ในโรงช้าง ชาวสีพีขนานนามช้างว่า “ปัจจัยนาเคนทร์” ด้วยเป็นช้างมงคลที่แม้ขับขี่ไปในที่ใด ก็จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
กาลต่อมา เมื่อเมืองกลิงคราษฏร์เกิดข้าวยากหมากแพง ด้วยฝนฟ้าแล้งมิตกต้องตามฤดูกาล พระเจ้ากลิงคราษฏร์มิอาจทรงแก้ไขได้ แม้จะทรงรักษาอุโบสถศีลครบกำหนด 7 วันแล้วก็ตาม จนต้องแต่งตั้งพราหมณ์ 8 คนไปทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์จากพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็ประทานให้เป็นเหตุให้ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ ถึงขั้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากบ้านเมืองไป
พระเวสสันดรแม้จะประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ จนต้องถูกเนรเทศก็มิทรงย่อท้อที่จะบำเพ็ญทาน ยังทูลขอโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “สัตสดกมหาทาน” ก่อนจะทรงจากไป ทรงให้พระนางมัทรีบริจาคทรัพย์ถวายแด่ผู้ทรงศีล และให้พระนางทรงอยู่บำรุงรักษาพระโอรสพระธิดา ทั้งทรงอนุญาตให้อภิเษกสมรสใหม่ได้ แต่พระนางมัทรีขอตามเสด็จไปพร้อมพระโอรสและพระธิดา และได้ทรงพรรณนาถึงความสวยงามและน่าทัศนาของป่าหิมพานต์ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่า พระนางเต็มพระทัยโดยเสด็จ มิทรงเห็นเป็นเรื่องทุกข์ทรมานแต่ประการใด






3. กัณฑ์ทานกัณฑ์
เมื่อพระเวสสันดรทรงบริจาคสัตสดกมหาทาน เป็นทาน 7 สิ่ง สิ่งละ 700 ตามที่ทรงทูลขอพระ
เจ้ากรุงสญชัยพระราชบิดาแล้ว ทรงนำเสด็จพระนางมัทรี และสองกุมารกราบทูลลาพระราชบิดา
พระเจ้ากรุงสญชัยทรงทัดทานมิให้พระนางมัทรีและพระนัดดาทั้งสองตามเสด็จไปด้วย ครั้นพระนางมัทรีมิทรงยินยอมก็ทรงขอพระนัดดาทั้งสองไว้ พระนางมัทรีก็ไม่ทรงยินยอมอีก ด้วยทรงตั้งพระทัยมั่นที่จะขอตามเสด็จพระสวามีไปพร้อมพระโอรสและพระธิดา ทรงกราบทูลว่า เมื่อเป็นมเหสีแล้วก็ถือพระองค์เป็นประดุจทาสทาสี ย่อมจงรักภักดีต่อพระสวามี ขอตามเสด็จไปปรนนิบัติประหนึ่งทาสติดตามรับใช้ มิยอมให้พระสวามีไปตกระกำลำบาก ทุกข์ยากพระวรกายแต่เพียงลำพัง ส่วนพระโอรสพระธิดาเป็นประดุจแก้วตาดวงใจจะทอดทิ้งเสียกระไรได้ พระเจ้ากรุงสญชัยต้องทรงเลิกทัดทานในที่สุด
เมื่อพระเวสสันดรทรงกราบบังคมทูลลาพระชนกชนนีแล้ว ทรงเบิกแก้วแหวนเงินทอง บรรทุกราชรถเทียมม้า และทรงโปรยเป็นทานไปตลอดทาง แม้แต่รถทรง ม้าเทียมรถทรง ก็ประทานให้แก่พราหมณ์ที่มาทูลขอไปจนหมดสิ้น แล้วทั้งสองพระองค์ทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดา ทรงพระดำเนินไปสู่มรรคาเบื้องหน้า









4. กัณฑ์วนประเวศน์
พระเวสสันดร พระนางมัทรี และสองพระกุมาร เสด็จโดยพระบาทเป็นระยะทางถึง 30 โยชน์ จึงลุมาตุลนคร แคว้นเจตราษฏร์ ด้วยพระบารมีเทพยดาจึงทรงย่นระยะทางให้เสด็จถึงตัวเมืองในเวลาเพียงวันเดียว ทั้งสี่พระองค์ได้ประทับแรมที่แคว้นเจตราษฏร์นี้
เมื่อกษัตริย์เจตราษฏร์ทรงทราบ ได้กราบทูลขอถวายความอนุเคราะห์ทุกประการ ทั้งเชิญเสด็จเสวยราชสมบัติแทนพระองค์ แต่พระเวสสันดรมิทรงรับ ด้วยผิดพระประสงค์ ทรงขอเพียงให้ชี้ทางไปเขาวงกต สถานที่ที่พระองค์ตั้งพระทัยมั่นจะประทับรักษาพระจริยวัตรของนักพรตโดยเคร่งครัดสืบไป
กษัตริย์เจตราษฏร์สุดที่จะทรงโน้มน้าวพระทัยพระเวสสันดรได้ จำต้องทำตามพระประสงค์ ทรงทำได้แต่เพียงตามส่งเสด็จ จนสุดแดนแคว้นเจตราษฏร์และทรงตั้งให้พรานเจตบุตร ถวายงานเป็นผู้พิทักษ์ระวังระไวมิให้ภยันตรายใด ๆแผ้วพาน และมิให้สิ่งใดหรือใครเข้าไปรบกวนความสงบได้
ณ เขาวงกต ทั้งสี่พระองค์ประทับในพระอาศรม ที่พระอินทรเทพทรงบัญชาให้พระวิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิตไว้ให้พร้อมด้วยเครื่องบรรพชิต บริขารครบถ้วน พระเวสสันดรประทับในพระอาศรมหนึ่งโดยลำพัง พระนางมัทรีกับสองพระกุมารประทับอีกพระอาศรมหนึ่ง ทั้งสี่พระองค์ทรงผนวชเป็นพระฤาษี ต่างพระองค์ต่างทรงรักษาพระจริยวัตรของผู้ถือบวชโดยเคร่งครัดสมดังพระหฤทัยตั้งมั่นทุกประการ










5. กัณฑ์ชูชก
ในละแวกบ้านทุนวิฐ แคว้นกลิงคราษฏร์ มีชูชกพราหมณ์เข็ญใจเที่ยวขอทานเขากิน เมื่อเก็บเงินได้
มากถึง 100 กษาปณ์ ก็นำไปฝากเพื่อนพราหมณ์ผัวเมียคู่หนึ่งไว้ แล้วเที่ยวตระเวนขอทานต่อไป
ชูชกหายไปนาน จนพราหมณ์ผัวเมียคิดว่าชูชกไม่กลับมาแล้ว ประกอบกับเกิดขัดสนยากจนลง ชวนกันใช้เงินของชูชกจนหมด เมื่อชูชกกลับมาทวงไม่มีจะคืนให้ จึงยกนางอมิตตดาใช้หนี้แทน ชูชกได้นางอมิตตดาซึ่งนอกจากจะเป็นลูกที่ดี คือ กตัญญูต่อพ่อแม่ ทดแทนพระคุณโดยยอมตัวเป็นของชูชกแล้วยังเป็นเมียที่ประเสริฐ แม้ชูชกจะแก่คราวปู่ นางก็ปรนนิบัติชูชกอย่างดี มิได้ขาดตกบกพร่อง ทำให้พราหมณ์หนุ่มในละแวดนั้นไม่พอใจนางพราหมณีภรรยาของตน ต่างไปต่อว่าด่าทอทุบตีภรรยาตน นางพราหมณีทั้งหลายโกรธแค้นจึงไปรุมขับไล่และด่าว่านางอมิตตดาอย่างรุนแรง นางทั้งเสียใจและอับอายจนสุดจะทนจึงร้องไห้บอกชูชกว่า จะไม่ทำงานรับใช้สามีอีก ชูชกขอทำงานแทน นางก็ยอมไม่ได้ ด้วยเทือกเถาเหล่ากอของนางไม่เคยใช้สามีต่างทาส
ด้วยเทพยดาฟ้าดินจะทรงให้การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรเพิ่มพูนขึ้นอีก จึงดลใจให้นางอมิตตดารู้เรื่องของพระเวสสันดร และคิดขอสองพระกุมารมาเป็นข้ารับใช้ โดยให้นางแนะชูชกไปขอสองพระกุมาร ชูชกจำใจจากนางเดินทางไปตามหาพระเวสสันดร จนกระทั่งไปถึงเขาวงกตเพราะเทพยดาดลใจให้หลงทางไป ชูชกพบพรานเจตบุตรและใช้อุบายลวงล่อ จนพรานเจตบุตรหลงเชื่อว่า เป็นผู้ถือพระราชสาส์นพระเจ้ากรุงสญชัย มากราบทูลเชิญทั้งสี่พระองค์เสด็จกลับกรุงสีพี จึงต้อนรับชูชกเต็มที่ ทั้งเตรียมเสบียงและยอมชี้ทางไปสู่พระอาศรมพระเวสสันดรแต่โดยดี







6. กัณฑ์จุลพน
พรานเจตบุตรซึ่งได้รับคำสั่งจากกษัตริย์เจตราษฏร์ให้ทำหน้าที่เป็นนายด่านประตูป่า คอยห้ามมิให้
ผู้ใดเข้าไปพบกษัตริย์ทั้งสี่พระองค์ เว้นแต่ราชทูตเท่านั้น รู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของชูชก จึงหลงเชื่อ ให้ที่พักอาศัยและเลี้ยงดูจนอิ่มหนำสำราญ ครั้นรุ่งเช้า ก็จัดเตรียมเสบียงให้ชูชก พร้อมทั้งนำชูกชกไปยังต้นทางที่จะไปเขาวงกต และชี้บอกเส้นทางที่จะต้องผ่านว่า ต้องผ่านเขาคันธมาทน์ อันอุดมด้วยไม้หอมนานาชนิด ถัดไปจะเห็นเขาสีเขียวคราม คือ เขาอัญชัน ซึ่งอุดมไปด้วยไม้ผลและสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เดินต่อไปอีกสักครู่จะถึงสถานอัมพวนใหญ่ คือ ป่ามะม่วง ถัดไปเป็นป่าตาล ป่ามะพร้าวกับต้นแป้ง จากนั้นจะเป็นป่าไม้ดอกนานาพรรณที่มีกลิ่นหอมตระหลบไปทั้งป่า แล้วจะถึงสระอันอุดมไปด้วยสัตว์น้ำหลากหลายชนิด มีขัณฑสกรซึ่งเป็นน้ำตาลที่เชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว และเป็นเครื่องยาอย่างดีที่หาได้ยาก
พรานเจตบุตรยังได้แนะทางที่จะไปอาศรมของพระอัจจุตฤาษี เพื่อให้ชูชกถามถึงหนทางที่จะไปยังพระอาศรมพระเวสสันดร
ชูชกจำเส้นทางที่พรานเจตบุตรบอกไว้ แล้วอำลาโดยทำประทักษิณ 3 รอบ จากนั้นจึงออกเดินทางต่อไป




7. กัณฑ์มหาพน
ชูชกเดินทางผ่านสถานที่สำคัญ ๆ ตามที่พรานเจตบุตลบอกจนกระทั่งพบพระอัจจุตฤาษี จึง
สอบถามที่อยู่ของพระเวสสันดร
พระอัจจุตฤาษี เห็นท่าทีและพฤติกรรมของชูชกครั้งแรกก็ลังเล กลัวว่าชูชกจะมาขอพระชาลี พระกัณหาไปเป็นทาส หรือไม่ก็ขอพระนางมัทรี จึงไม่บอกทาง แต่ชูชกแก้ตัวด้วยมธุรสวาจา ยกเหตุผลว่าจะมาเที่ยวขอให้เสื่อมเสียพงศ์พราหมณ์ทำไม การมาครั้งนี้เพื่อเยี่ยมเยียนพระเวสสันดรจริง ๆ ขอให้ได้เห็นจะได้เป็นกุศลทั้งยังอ้างว่าตั้งแต่พระเวสสันดรจากเมืองมา ตนยังไม่ได้พบพระเวสสันดรเลยทำให้พระอัจจุตฤาษีใจอ่อน หลงเชื่อว่าชูชกมาด้วยเจตนาดี
เมื่อเห็นว่าพระอัจจุตฤาษีใจอ่อนหลงเชื่อแล้ว ชูชกจึงขอค้างแรมที่อาศรมหนึ่งคืน รุ่งขึ้น พระอัจจุตฤาษีจัดหาผลไม้ให้ และบอกทางไปพระอาศรมของพระเวสสันดรอย่างละเอียด พรรรณาถึงป่าเขา ฝูงสัตว์ร้ายต่าง ๆ ด้วยเป็นป่าใหญ่ สมกับที่เรียกว่า ป่ามหาพน
ชูชกจดจำคำแนะนำเส้นทางไว้ แล้วอำลามุ่งหน้าเดินทางไปสู่พระอาศรมของพระเวสสันดร






8. กัณฑ์กุมาร
ชูชกเดินทางไปถึงพระอาศรมพระเวสสันดรเวลาจวนค่ำ แต่ไม่คิดจะเข้าเฝ้าเพื่อทูลขอสองพระ
กุมารในเวลานั้น ด้วยเกรงว่าพระนางมัทรีจะทรงขัดขวางตามวิสัยผู้เป็นแม่ รอให้พระนางมัทรีเสด็จไปหาผลไม้ และพระเวสสันดรประทับอยู่โดยลำพังในวันรุ่งขึ้น จึงค่อยเข้าไปขอ
ในคืนนั้น พระนางมัทรีทรงพระสุบิน ด้วยเทวดามาบอกเหตุว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ผิวดำ ถือดาบ 2 มือ พังประตูอาศรมเข้าไปฉุดกระชากพระนางควักพระเนตร ตัดพระพาหาสิ้นทั้งซ้ายขวา ท้ายสุดผ่าพระอุระควักดวงพระหทัยแล้วหนีไป พระนางทรงตระหนักดีว่าทรงฝันร้าย จึงกังวลพระทัยยิ่งนักและไม่วางพระทัย แม้พระเวสสันดรจะทรงทำนายเลี่ยงไปว่า เป็นเพราะธาตุวิปริต และทรงปลอบพระนางให้หายหวาดกลัวและคลายกังวล ครั้นรุ่งเช้า พระนางก็ยังคงเสด็จไปหาผลไม้ดังเช่นที่ทรงปฏิบัติทุกวัน
ฝ่ายชูชกสบโอกาสดังคิด จึงเร่งเข้าเฝ้าพระเวสสันดร แล้วทูลขอสองพระกุมาร แม้พระเวสสันดรจะทรงอาลัยพระโอรสพระธิดาเพียงใด ก็ต้องตัดพระทัยเพื่อพระสัมมาสมโพธิญาณ อันจะยังประโยชน์สุขให้แก่มวลมนุษย์ยิ่งกว่าสุขของพระองค์เอง ทั้งสองพระกุมารก็เข้าพระทัยในเหตุผลของพระบิดาจึงยอมเสด็จไปกับชูชก
ทั้งสามพระองค์ต้องทรงกลั้นอาลัย พระเวสสันดรต้องทรงสะกดพระโทสะ ด้วยชูชกลงมือเฆี่ยนตีสองพระกุมาร ตั้งแต่ยังไม่ทันพ้นพระอาศรม
ก่อนที่จะทรงให้ชูชกนำสองกุมารไป ได้ทรงตั้งค่าตัวไว้ว่า หากมีผู้ใดต้องการไถ่สองพระกุมารให้พ้นทาส พระชาลีนั้นทรงตั้งไว้พันตำลึงทอง พระกัณหาเป็นหญิง นอกจากทรัพย์พันตำลึงทองแล้ว ยังต้องประกอบด้วยข้าทาสชายหญิง ช้างม้า โคคาวี และพระโคอุศุภราชอีกอย่างละร้อย






9. กัณฑ์มัทรี
เมื่อชูชกพาสองพระกุมารไปแล้ว พระอินทรเทพทรงเกรงว่าพระนางมัทรีจะเสด็จกลับจากป่าเร็ว
กว่าปกติด้วยความกังวลที่ทรงฝันร้าย และพระนางจะเสด็จตามทันสองพระกุมาร จึงทรงบัญชาให้เทพยดา 3 องค์ แปลงกายเป็นสัตว์ร้ายน่ากลัว คือ เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ นอนขวางทางเสด็จกลับพระอาศรม จนค่ำจึงหลีกทางให้พระนาง
ครั้นพระนางมัทรีเสด็จกลับถึงพระอาศรม ไม่ทรงเห็นสองพระกุมารทรงตามหาไม่พบ ก็กันแสงอ้อนวอนทูลถามพระเวสสันดรถึงสองพระกุมาร พระเวสสันดรไม่ทรงตอบ และทรงแกล้งกล่าวตำหนิที่พระนางทรงกลับมืดค่ำ ให้พระนางเจ็บพระทัย จะได้คลายทุกข์โศกถึงสองพระกุมาร แม้พระนางจะทรงอ้อนวอนสักเท่าใดก็ไม่ทรงตอบ จนพระนางน้อยพระทัย ทรงออกติดตามพระโอรสพระธิดาทั้งราตรี
ลุรุ่งอรุณวันใหม่ พระนางมัทรีจึงเสด็จกลับพระอาศรมด้วยความอิดโรยอ่อนพระทัย อ่อนล้าพระกำลังถึงกับทรงสลบไป เมื่อพระเวสสันดรทรงแก้ไขให้ฟื้นแล้ว จึงทรงบอกความจริงว่าได้ประทานพระโอรสพระธิดาให้ชูชกไปแล้ว ทรงขอให้พระนางอนุโมทนาใน “ปิยบุตรทาน” ด้วย อันจะส่งผลให้พระองค์เสด็จสู่พระสัมมาสัมโพธิญาณ พระนางมัทรีเมื่อทรงทราบความจริงจึงทรงบรรเทาโศกและทรงอนุโมทนาด้วย


10. กัณฑ์สักกบรรพ
เมื่อพระเวสสันดรประทานสองพระกุมารให้ชูชกไปแล้ว พระอินทรเทพทรงดำริว่า แม้นมีผู้มาทูล
ขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรก็จะทรงยกให้อีกจะทำให้พระเวสสันดรขาดผู้ปรนนิบัติดูแล จึงทรงนิรมิตองค์เป็นพราหมณ์แก่เข้าไปทูลขอพระนางมัทรี และเป็นดังที่ทรงคาด เมื่อพราหมณ์จำแลงรับพระนางมัทรีมาแล้ว จึงกลับร่างเป็นพระอินทรเทพถวายพระนางคืน พร้อมประทานพร 8 ประการ ตามที่พระเวสสันดรทรงแสดงพระประสงค์ คือ
1. ให้พระบิดาทรงรับพระองค์กลับไปครองราชย์สมบัติดังเดิม
2. ให้พระองค์มีพระกรุณาและพระปัญญา ที่จะไม่ต้องเข่นฆ่าแม้ผู้มีความทุจริตร้ายกาจ
3. ให้พระองค์ทรงกอปรด้วยพระเมตตาและพระอำนาจ เป็นที่พึ่งและเป็นที่รักแก่ปวงชน
4. ให้พระองค์พอพระทัย มั่นคงอยู่แต่ในพระชายาพระองค์เดียวแม้มีสตรีเป็นที่รักมากเพียงใด ขอ
อย่าให้ทรงลุอำนาจของสตรีจนเป็นทางที่ทุจริตผิดตามมาได้
5. ให้พระโอรสได้ปกครองแผ่นดิน ทรงอำนาจด้วยธรรมปฏิบัติ
6. ให้เกิดภักษาหารมากมีเพียงพอที่จะบริจากเป็นทานได้ไม่ขาด
7. ให้มีทรัพย์สมบัติเป็นเครื่องอุดหนุนไทยธรรมทานการกุศลของพระองค์ มีแต่เพิ่มพูนมิรู้หมดสิ้น เช่นเดียวกับน้ำพระทัยในทางกุศลของพระองค์
8. เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไป ขอให้บังเกิดในสวรรค์ชั้นสูง มีพระบารมีและมิมีวันเสื่อมถอยลดลงจากพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญ


11. กัณฑ์มหาราช
ชูชกตั้งใจพาสองพระกุมารกลับไปหานางอมิตตดาที่เมืองกลิงคราษฏร์แต่เทพยดาดลใจให้ชูชกเลือก
ทางผิด กลายเป็นเดินทางเข้าสู่กรุงสีพีของพระเจ้ากรุงสญชัย
ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัย คืนก่อนที่จะได้พบสองพระกุมาร ได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า มีบุรุษรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว นำดอกบัว 2 ดอกมาถวาย ซึ่งโหรหลวงทำนายว่า จะมีพระญาติใกล้ชิดที่พลัดพรากไปกลับสู่พระนคร
รุ่งขึ้น ชูชกก็มีโอกาสนำสองพระกุมารเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี ทั้งสองพระองค์ดีพระทัยยิ่งนัก พระราชทานสิ่งของไถ่องค์พระนัดดาทั้งสอง ตามที่พระเวสสันดรทรงกำหนดไว้ และทรงให้จัดเลี้ยงชูชกด้วยอาหารคาวหวานมากมาย ชูชกบริโภคเกินขนาด จนไฟธาตุไม่อาจเผาผลาญได้ อาหารไม่ย่อย สุดท้ายก็ถึงแก่จุกตาย ทรัพย์ที่ได้รับก็ถูกริบเข้าพระคลังหลวงหลังจากที่ประกาศหาวงศาคณาญาติให้มารับแล้วไม่มีผู้ใดมารับ
หลังจากพระเจ้ากรุงสญชัยทรงสดับเรื่องราวจากพระนัดดาทั้งสองที่ต้องตกระกำลำบากกับพระชนกพระชนนี พระเจ้ากรุงสญชัยก็ทรงเตรียมยพยุหยาตราไปรับพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีกลับพระนคร ในวันรับเสด็จพราหมณ์ชาวเมืองกลิงราษฏร์ 8 คน นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน จึงโปรดให้พระชาลีทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์นำขบวนสู่เขาวงกต



12. กัณฑ์ฉกษัตริย์
พระชาลีทรงช้างปัจจัยนาเคนทร์เป็นทัพหน้า เสด็จถึงเขาวงกตก่อนเพื่อเตรียมรับเสด็จพระเจ้า
กรุงสญชัย
เมื่อพระเจ้ากรุงสญชัยเสด็จถึงเขาวงกต ทรงพระดำริว่าหากเสด็จเข้าไปพร้อมกันทุกพระองค์ จะเป็นเหตุให้ทุกข์โศกสาหัสจนระงับมิได้ จึงเสด็จเข้าสู่พระอาศรมแต่พระองค์เดียวก่อน พอทุเลาโศกลงบ้างแล้วจึงจะให้พระนางผุสดีและสองพระกุมารตามเสด็จเข้าไป แม้กระนั้น เมื่อทั้งสามพระองค์เสด็จเข้าไปในพระอาศรม พระนางมัทรีซึ่งมิอาจทรงหวังได้เลยว่า จะได้พบสองพระกุมารอีก ครั้นได้ทรงพบกัน จึงต่างกันแสงพิไรรำพัน ทั้งเศร้าโศกและยินดีจนข่มพระทัยไว้มิได้ ก็สลบสิ้นสติสมปฤดี ณ ที่นั้นทั้งสามพระองค์
ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดีและพระเวสสันดร ทอดพระเนตรเห็นเช่นกัน ทรงกลั้นโศกมิได้ กันแสงแล้วสลบสิ้นสติสมปฤดีไปเช่นกัน เหล่าพระสนมและข้าราชบริพารก็ล้วนโศกศัลย์ ล้มสลบตามกันไป
เหตุครั้งนั้นทำให้แผ่นพสุธาไหวทั่วพื้นพิภพ พระอินทรเทพทรงทราบจึงทรงแก้เหตุวิกฤตที่อุบัติขึ้น ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ณ ที่นั้น กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์ และผู้คนทั้งหลายต่างฟื้นคืนสติโดยทั่วกัน
นั่นเป็นฝนโบกขรพรรษที่เคยตกมาสมัยก่อนพุทธกาล ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าโปรดพระอรหันตสาวก อันเป็นพระพุทธปรารภเรื่องพระเวสสันดร



13. กัณฑ์นครกัณฑ์
เมื่อเหตุทั้งปวงคลี่คลายลง ต่างพระองค์ต่างสงบพระทัยได้แล้ว พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงขอให้พระ
เวสสันดรเสด็จกลับไปปกครองบ้านเมืองดังเดิม เหล่าข้าราชบริพาร และเหล่าชาวเมืองที่ตามเสด็จพระเจ้ากรุงสญชัยมาต่างก็กราบทูลวิงวอน ร้องขอให้พระเวสสันดรทรงอภัยให้ และกลับไปครองสิริราชสมบัติดังเดิม
พระเวสสันดรทรงใคร่ครวญไตร่ตรองเหตุที่ควรจะเป็น และทรงคำนึงถึงพระพรที่ทรงขอจากพระอินทรเทพว่า ให้พระราชบิดารับกลับไปครองสิริราชสมบัติ จึงตัดสินพระทัยเสด็จกลับพระนคร
กษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์เสด็จกลับกรุงสีพีพร้อมข้าราชบริพารและผู้ตามเสด็จ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องต้อนรับด้วยความปิติยินดีของชาวเมือง ที่รักเคารพเทิดทูนพระองค์เป็นที่ยิ่ง







บทที่ 3
สรุป วิเคราะห์ วรรณกรรม : มหาเวสสันดร
มหาเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งตัวละครแต่ละคนมีลักษณะสะท้อนคุณธรรมซึ่งเป็นการสอดแทรกปรัชญาชีวิต และวีถีในการดำเนินชีวิต ดังนี้
1. พระเจ้ากรุงสญชัย – พระนางผุสดี ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ปกครองที่ดี ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน รู้จักผ่อนปรนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ โดยจากการที่พระเจ้ากรุงสญชัยทรงเลือกที่จะขับไล่พระเวสสันดรซึ่งเป็นลูกตามเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ดังคำกลอนในกัณฑ์หิมพานต์ที่ว่า
“เมื่อนั้นฝูงหมู่ชาวเมืองได้ยินคำพราหมณ์กล่าว ใจโกรธเข่มกายฮ้อนเหื่อไหล โทรมนังแค้นคิงแคงโดยเลือด เพราะว่าเคียดให้เจ้าทานช้างมิ่งเมือง เขาก็พากันเข้าวังหลวงฮ้องสนั่น ทูลบอกเบื้องไขข้อกล่าวคดี บัดนี้ลูกเจียงเจ้ามหาเวสกระทำผิด ทานนาเคนทร์มิ่งเมืองนครกว้าง อาธรรมแท้คนขวางผิดฮีตจริงแหล่วควรเบิกบ้านตีเฆี่ยนไล่หนีพระเอย คันว่าพระบาทเจ้าเลี้ยงลูกคนผิด ภัยจักมีมาเถิงแก่พระองค์จริงแท้ เมื่อนั้นสญไชยเจ้าราชาปิตุเรศ ฮู้เหตุข้อเห็นพร้อมไพร่เมือง อันบุตรเฮานี้ทำทานผิดฮีตจริงแหล่ว เฮาจักขับจากบ้านอย่างแพงไว้อั่งนคร”
2. พระเวสสันดร เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ยึดติดกับอำนาจวาสนา บริบูรณ์ในพรหมวิหาร 4 ประการ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ในกัณฑ์ทานกัณฑ์ เมื่อพระเวสสันดรถูกชาวเมืองสีพีขับไล่ออกจากแว่นแคว้นตามพระบรมราชโองการ ของพระเจ้าสญชัย พระราชบิดา พระองค์ก็ยินดีปฏิบัติตามแต่โดยดีโดยไม่ทรงทำให้พระราชบิดาเดือดร้อน ลำบากพระทัยใด ๆ เลย ซึ่งเป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มุ่งบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ แม้จะทุกข์ก็ไม่หวั่น เป็นแบบอย่างของบุคคลผู้ไม่ยึดติดอำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึงโลกธรรมที่ว่า "ยามมียศ เขาก็ยก ยามต่ำตกเขาก็หยาม" หาได้หวั่นไหวหรือล้มเลิกบำเพ็ญบารมีไม่ ดังคำกลอนที่ว่า “
“เมื่อนั้นขอให้สองกษัตริย์ไท้คุณคามครองราชย์ อย่าได้มีพยาธิ์ฮ้อนยืนหมื่นหมื่นปีแด่ท่อน ลูกนี้
คนขวางฮ้ายวายเมืองมัวมอด ฝูงหมู่พวกไพร่น้อยกระหายฮ้อนทั่วแดนแท่แหล่ว ประชาชนแท้หลอนเลิงเลี้ยงยาก ลูกนี้อยู่บ่ได้ เมืองบ้านซิล่มหลวง”
3. กษัตริย์เจตราษฏร์ เป็นแบบอย่างของมิตรแท้ที่มีน้ำใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือยามมิตรตกทุกข์ได้ยาก
ดังคำกลอนในกัณฑ์วนปเวศน์ที่ว่า “เพราะว่าเจตราชท้าวทูลชี้ช่องทาง โพธิสัตย์เจ้าพานางลัดล่วงน้อยหนึ่งเข้าพาล้านป่าลาน เขานั้นอุดมด้วยสถานภูมิเพียงฮาบ เฒ่าแก่เฮื้องประถมอ้างซ่าเซง ชื่อว่าวิบูลย์บรรพตกว้างเขาหลวงถ้ำใหญ่ มีหมู่ไม้เต็มถ่วนเถื่อนแถว อันว่าแนวไผแท้แนวมันเป็นหมู่ ยายแยกต้นเงาเงี่ยมฮ่มเย็น แดดบ่ต้องแสงส่องปถพี พระพายพรมพัศส่องวอนหายฮ้อน” อีกทั้งในกัณฑ์นี้ได้มีการพรรณาถึงสภาพของป่าหิมพานต์ได้อย่างไพเราสละสลวย เช่น “ในดอยกว้างมีกวางเป็นหมู่ หมูเถื่อนต้อนผีด้วนดั่งตอน แลเห็นสอนลอนไม้จำปาเป็นป่า ฝูงหมู่เฟื้องฟ่าสัมสมต้นเว่อนาว อันวาภูธรท้าวทรงกระสันอกสั่น สัพพะดวงดอกไม้ดงช้างป่าซาง พระก็พานางขึ้นเขางอนเมืองง่อน ตามไต่ก้อนผาล้วนสำราญ คอยไปหน้าดงหนายาวย่าน สองก็อุ้มอ่อนน้อยพาผ่ายเผ่นผาย หอมดวงไม้ทรงสะออนอกอ่อน สัพพะพืชโภชน์พร้อมในด้าวดั่วดาว”
4. ชูชก เป็นตัวอย่างของคนมัธยัสถ์ รู้จักเก็บหอมรอมริบ รักครอบครัว แต่มีนิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย เต็มไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ ติดอยู่ในกามเข้าลักษณะ “วัวแก่กินหญ้าอ่อน”
“บัดนี้อันว่าตามพราหมณ์เฒ่าแสนงอนคนฉลาด ตลบหลอกล้มล้อลิมว่ากระบวน จาทางอ้อมเสริมความเล่ห์เหลี่ยม นับนึงได้พราหมณ์ เฒ่าฉลาดขอก็นบนอบนิ้ทูลเจียมจา อันว่าจอมใจบุญอยู่เนาว์ในด้าว ยังค่อยสวัสดีน้อมทรงธรรมเพียรประโยชน์”
5. พระชาลี – พระกัณหา เป็นแบบอย่างของลูกที่ดี เชื่อฟังพ่อแม่ มีเหตุผล ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะต้องเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน จากการถูกชูชกเฆี่ยนตีก็ตามดังคำกลอนกัณฑ์กุมารที่ว่า
“เมื่อนั้นสองอ่อนน้อยฮู้ดีเรื่องคดีการ บิดาหอมห่อธรรมซิทานเจ้าให้แก่ตาพราหมณ์เฒ่าจรไพรซิพาด่วน เดียวนี้ยังบ่เห็นแม่เจ้ากินจู้แอ่วนม อันว่าสองอ่อนน้อยย่านสั่นมัวกระหาย เหลียวดูกันค่อยคานไปลี้ หักเฮียวไม้บังตัวตันป่อง พระพี่น้องบังลี้พุ่มหนาม ยังเล่ากลัวพราหมณ์เฒ่าเห็นช่ำย่ายที่ คานหมอลี้ไปหน้าพุ่มหนา สองก็พากันลี้กลางดงคือท่ง หาบ่อนกั้นเจ้าตั้งแต่เป็น พี่ดึงแขนน้องลงสระเสียเลย ถอยหลังลงสู่น้ำหนีส้นเสี่ยงฮอย อันว่าสองอ่อนน้อยเอาใบบัวบังเกศ ปกหุ้มเศียรเหล้าบ่ติง แม่นจักจามไอแท้อดกลั้นเอาอยู่ กลัวพ่อซิทานให้แก่พราหมณ์”
6. พระนางมัทรี เป็นแบบอย่างของภรรยาที่ดี ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อสามี รวมถึงเป็นแม่ที่รักและห่วงลูกมาก เปรียบลูกเป็นเสมือนแก้วตาดวงใจ
ในกัณฑ์ทานกัณฑ์ ทำให้เราได้ทราบถึงความเด็ดเดี่ยว รักเดียวใจเดียวของพระนางมัทรีที่ยืนยันว่าจะขอเสด็จไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระเวสสันดร ถึงแม้จะลำบากเพียงไหนก็จะไม่กลัวพยันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น และเป็นการสอดแทรกทัศนะแห่งปรัชญาชีวิตในสังคมอีสานที่เกี่ยวกับค่านิยมของกุลสตรีที่พึงปฏิบัติต่อสามี เช่น ต้องยอมตกระกำลำบากพร้อมกับสามี โดยเฉพาะเมื่อสามีต้องยากลำบากหญิงต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสามี ดังคำกลอนที่ว่า
“แม่นซิทุกข์ท่อฟ้าสีหน้าก็ฮุ่งเฮืองพระเอย อันว่าสามีโกแก้วองค์เดียวเดินป่า หาเพื่อนพร้อมเทียมช้างก็บ่มี ลูกบ่ละแจ่มเจ้าเจียระจากองค์เดียว ลูกขอไปตามผัวแอ่วนำแนมเจ้า แสนทุกข์ฮ้อนนอนดินดอมปลวกก็ตามถ่อน แม่นซิทุกข์ท่อฟ้าพระองค์ข้าซิคอยเพียรพระเอย แนมท่อได้พางพื้นท่าวเทศองค์ศีล เป็นตายสังก็ส่างกรรมเมื่อหน้า”
และจากคำกลอนในกัณฑ์มัทรีที่ว่า
“น้องนี้เคยอยู่ห้องเป็นยอดหญิงกษัตริย์ บ่แม่นหญิงสามาลย์หมู่แถลงตื้น จึงได้ตามพระองค์เจ้าคีรีดั้นเดื่อน ทุกข์ยากเยื้อนพระอวนน้องก็แอ่วตาม แม่นว่าการหนักยุ่งแสนทวียาก น้องบ่ได้ปากต้านการยุ่งยากสัง พระเอย”
“กัณหาแก้วชาลีหนีจาก เจ้าหากพรากแม่ไว้ไปค้างหว่างใด หรือว่าพากันให้ดับขันธ์ไล่แม่ ไปเกิดก้ำสวรรค์ฟ้าบ่คอยแม่นอ นับแต่แม่หอดให้คณิงลูกโลมขวัญ คือดั่งตัวตายไปส่วงเวรคราวแค้น พระกายาเยื้อนเสโททวงอาบ คึดลูกน้อยกอยกั้นเกลื่อนกะหาย”

ข้อคิด และความเชื่อที่ได้รับการจากการศึกษาวรรณกรรม : มหาเวสสันดร
กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร : การทำบุญจะได้ดังประสงค์ ต้องอธิษฐานจิต ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ตั้งมั่นและบริบูรณ์ในศีล ได้แก่ การทำความดี รักษาความดีนั้นไว้ และหมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ : การทำความดีมักมีอุปสรรค
กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ : พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวศน์ : มิตรแท้ ย่อมไม่ทอดทิ้งเมื่อยามเพื่อนทุกข์ ช่วยปลอบปลุกยอมเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ และช่วยค้ำชูยามเพื่อนขึ้นสู่ที่สูง
กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก : อย่าฝากของมีค่าของสำคัญ หรือของหวงแหนไว้กับผู้อื่น
กัณฑ์ที่ 6 กัณฑ์จุลพน : มีอำนาจ แต่หากขาดปัญญา ย่อมถูกหลอกได้ง่าย
กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพน : คนฉลาดแต่ขาดเฉลียว คนมีปัญญา แต่ขาดสติ ย่อมพลาดท่าเสียทีได้
กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร : ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ รู้จักโอกาส รู้ความควรไม่ควร จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา
กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี : ไม่มีความรักใด ยิ่งใหญ่กว่าความรักของพ่อและแม่
กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักกบรรพ : การทำความดี แม้ไม่มีคนเห็นแต่เทพยดาอารักษ์ย่อมรู้ย่อมเห็น
กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์มหาราช : คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไมไหม้ ย่อมได้รับการคุ้มครองปกป้องในทุกที่ทุกสถาน
กัณฑ์ที่ 12 กัณฑ์ฉกษัตริย์ : การให้อภัย สามารถลบรอยร้าวฉานและความบาดหมางทั้งปวง ก่อให้เกิดสันติสุขแก่ส่วนรวม
กัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์นครกัณฑ์ : การทำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน การใช้ธรรมะในการปกครอง จะทำให้บ้านเมืองมีแต่ความสงบและร่มเย็น
ภูมิปัญญาที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม มหาเวสสันดร คือ
1. ภูมิปัญญาแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาแสดงให้เข้าใจถึงลักษณะของสังคม ค่านิยม ปรัชญาชีวิต และวิถีแห่งชีวิต ตลอดจนระบบของสังคมของกลุ่มชน
ภูมิปัญญาแห่งความเป็นมนุษย์ จึงเป็นรากฐานแห่งภูมิปัญญาทั้งหลายที่มีอยู่ในสังคม มนุษย์ หมายความรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้กระทำ ความรู้สึกนึกคิด จิตนาการ สร้างสรรค์ เพื่อความดี งาม ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่า
2. ภูมิปัญญาด้านการจัดระเบียบสังคมมนุษย์ หรือ การควบคุมสังคมให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของประชาคมนั้น ๆ อาทิเช่น การที่พระเจ้ากรุงสญชัยเลือกที่จะขับไล่พระเวสสันดร ซึ่งเป็นลูกที่รักดั่งดวงใจ ออกจากเมืองตามความต้องการของประชาชน เป็นต้น
3. ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการสื่อความหมายร่วมกัน อย่างมีระเบียบวิธีการใช้ มีโครงสร้างทางไวยากรณ์ และวรรณกรรมที่ทำให้การสื่อภาษามีพลังในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เช่น การอุปมาอุปมัย “เมื่อนั้นพระแม่เจ้ากิ้งเกือบตายสลบ ทนทรวงขมังปวงไปเป็นบ้า” ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยความทุกข์ของนางผุสดีเมื่อทราบว่าจะเนรเทศพระเวสสัดรออกจากเมือง และแสดงอาการของพระนางผุสดีว่าเกือบตายสลบและทนทุกข์ใจจนจะเป็นบ้า เป็นต้น
คุณค่าของมหาชาติ
มหาชาติเวสสันดรชาดกเป็นคัมภีร์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง สอนให้รู้จักโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มิเห็นแก่ตัว ซึ่งจะทำให้สังคมสงบสุข โดยมีอานิสงค์ ๕ ประการ ดังนี้
1. เป็นวรรณกรรมชั้นสูงที่รัตนกวีของชาติได้แต่งขึ้น
2. เป็นแม่แบบของการปกครอง แบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. เป็นคัมภีร์ที่สอนให้รู้ว่า การแก้ไขปัญหา แบบประชาธิปไตย (ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่) และ การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่รุนแรง นอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังเป็นการสร้าง ปัญหาให้เกิดมากยิ่งขึ้นไปอีก
4. สอนการผ่อนหนักให้เป็นเบา รู้จักประนีประนอม ผ่อนปรน ในยามบ้านเมืองเข้าที่คับขัน เช่น เหตุการณ์รุนแรงสำคัญ ๆ ในบ้านเมือง ตัวอย่างเช่น กรณี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกปฏิบัติเยี่ยงเดียวกับพระเจ้าสัญชัย โดยให้ผู้บริหารประเทศ ออกจาก บ้านเมืองไปก่อน จนกระทั่งเหตุการณ์คืนสู่ปกติ
5. สอนการดำเนินนโยบายต่างประเทศอันนุ่มนวล ที่มุ่งผูกมิตร ทำลายความเป็นศัตรู